{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ความต้องการใช้งานวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีแนวโน้มเติบโตตามการพัฒนาอาคารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาคารเชิงพาณิชย์ และโครงการที่อยู่อาศัยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับแรงกดดันจากกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับการก่อสร้างอาคาร จึงส่งผลให้การพัฒนาอาคารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หนุนให้เกิดการขยายตัวของตลาดวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผู้บริโภคมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่บางส่วนยังมีความกังวลในด้านประสิทธิภาพ และความคงทนของการใช้งาน
ผลสำรวจจาก SCB EIC พบว่า ผู้บริโภคมากกว่า 90% สนใจวัสดุก่อสร้างที่ช่วยประหยัดพลังงาน ลดอุณหภูมิของตัวบ้าน และเป็นมิตรต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย และสัตว์เลี้ยง โดยส่วนใหญ่ยินดีจ่ายเงินเพิ่มสำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่เกิน 5% จากราคาวัสดุก่อสร้างทั่วไป อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดจากปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจ สะท้อนจากผู้ที่ยินดีจ่ายเงินเพิ่มสำหรับวัสดุก่อสร้างที่มีคุณสมบัติพิเศษในปี 2024 มีสัดส่วนที่ลดลงจากปี 2023 รวมถึงผู้บริโภคยังมีความกังวลใจต่อการใช้งานวัสดุก่อสร้างบางประเภทที่ไม่ใช่วัสดุสำหรับการก่อสร้างแบบดั้งเดิม เช่น ชิ้นส่วนและโครงสร้างสำเร็จ ทั้งในด้านความแข็งแรง และอายุการใช้งาน เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติและการใช้งาน หรือยังไม่รู้จักวัสดุก่อสร้างประเภทดังกล่าว
แม้ว่าวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะมีราคาสูงกว่าวัสดุก่อสร้างทั่วไป แต่ก่อให้เกิดความคุ้มค่าในระยะยาว
การใช้วัสดุ การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และเครื่องจักรที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงยังจำเป็นต้องพัฒนาทักษะแรงงาน ในการผลิตวัสดุก่อสร้างที่ลดมลภาวะ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นในระยะแรก ซึ่งจะส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้างดังกล่าวมีแนวโน้มสูงกว่าวัสดุก่อสร้างทั่วไป แต่เมื่อคำนึงถึงประโยชน์ โดยเฉพาะการประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้า การลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา/ซ่อมแซมอาคาร และสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้มีสุขภาวะ รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่าของอาคารจากการกำหนดอัตราค่าเช่าได้สูงกว่าอาคารทั่วไปสำหรับองค์กร หรือหน่วยธุรกิจที่ต้องการภาพลักษณ์ที่ดีในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว
SCB EIC มองว่า การใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในไทย ยังต้องอาศัยการส่งเสริมจากทั้งภาครัฐ และความร่วมมือจากภาคธุรกิจ
ภาครัฐได้มีการส่งเสริมการใช้งานวัสดุก่อสร้างที่มีการปล่อย Emission ในปริมาณต่ำ ผ่านการกำหนดสัดส่วนวัสดุก่อสร้างฉลากเขียวที่ต้องใช้ภายใต้ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการภาครัฐ รวมถึงแรงผลักดันจากเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Building Energy Code : BEC) จะเป็นปัจจัยหนุนให้อุปสงค์และอุปทานของวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถขยายตัวได้
สำหรับความต้องการใช้งานของผู้บริโภคทั่วไป ยังต้องอาศัยความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจ รวมถึงกำลังซื้อ อีกทั้ง จำเป็นต้องสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภคว่าการใช้งานและคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างประเภทดังกล่าวไม่ได้แตกต่างไปจากวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิม และในบางกรณียังมีคุณสมบัติที่ดีกว่า เช่น มีความแข็งแรง อายุการใช้งานยาวนานกว่า และสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ซึ่งก่อให้เกิดความคุ้มค่าหากจะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น
จากเดิม โดยภาคเอกชนผู้ผลิตควรสื่อสารและประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างดังกล่าวกับผู้บริโภคให้เกิดการรับรู้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยมีการแสดงผลการทดสอบและการรับรองคุณภาพที่น่าเชื่อถือ รวมถึงหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุน และสามารถกำหนดราคาได้อย่างเหมาะสม รวมถึงเพิ่มสัดส่วนการวางจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค
อย่างไรก็ดี ภาครัฐสามารถออกมาตรการสนับสนุนการใช้งานวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน TREES for Home รวมถึงมาตรการจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น มาตรการอุดหนุนครัวเรือนในการซื้อวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาตรการนำค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปลดหย่อนภาษีเงินได้
บทวิเคราะห์โดย... https://www.scbeic.com/th/detail/product/green-building-material-111224
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS