{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
GPSC ศึกษาโครงการโรงไฟฟ้า SMR เทคโนโลยี Gen IV สร้างเสถียรภาพพลังงานสะอาด ป้อนไฟฟ้าและไอน้ำสู่ภาคการผลิต มุ่งเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน สร้างเศรษฐกิจยั่งยืน เดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero Emissions
นายศิริเมธ ลี้ภากรณ์ ผู้จัดการใหญ่ และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า GPSC อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้า SMR (Small Modular Reactor) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศอย่างมีเสถียรภาพ ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนฯ สู่สิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับเป้าหมาย Net Zero Emissions (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) ของกลุ่ม ปตท. โดย SMR ถือเป็นนวัตกรรมสำคัญในการผลิตไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถป้อนพลังงานได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
สำหรับเทคโนโลยี SMR ที่ GPSC กำลังศึกษาพัฒนาอยู่ นับเป็นนวัตกรรมพลังงานสะอาดยุคใหม่จากเทคโนโลยีปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นที่ 4 (Generation IV หรือ Gen IV) ที่จะช่วยยกระดับศักยภาพการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย ด้วยคุณสมบัติเด่นที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ สามารถผลิตพลังงานได้อย่างมีเสถียรภาพ ความปลอดภัยสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากออกแบบเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก กำลังการผลิต 100-300 เมกะวัตต์ต่อหน่วย ส่งผลให้มีระยะเวลาการก่อสร้างที่รวดเร็ว สามารถผลิตแบบโมดูลสำเร็จรูปจากโรงงาน และตอบโจทย์อุตสาหกรรมที่สามารถจ่ายทั้งไฟฟ้าและไอน้ำได้อย่างต่อเนื่อง ต่างจากพลังงานหมุนเวียนทั่วไปที่ผลิตได้เฉพาะช่วง ในส่วนกระบวนการผลิตไฟฟ้า ใช้แท่งเชื้อเพลิงยูเรเนียมความเข้มข้นต่ำ ร่วมกับระบบระบายความร้อนด้วยเกลือหลอมเหลว (Molten Salt Technology) ลดความเสี่ยงด้วยระบบความปลอดภัยแบบพาสซีฟ (Passive Safety System) ที่อาศัยหลักธรรมชาติในการลดความร้อนจากแท่งเชื้อเพลิงโดยอัตโนมัติในกรณีฉุกเฉิน อีกทั้งไม่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างกระบวนการผลิตไฟฟ้า อย่างไรก็ดี การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้า SMR จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดหลายด้าน ทั้งการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม เทคโนโลยีเฉพาะ การจัดการความปลอดภัย และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่ง GPSC กำลังดำเนินการศึกษาอย่างรอบคอบตามกรอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศหรือ PDP 2024 ซึ่งได้กำหนดขนาดกำลังผลิตไว้ที่ 300 เมกะวัตต์ โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงปลายแผนปี 2580
นายศิริเมธกล่าวเสริมว่า การที่ไทยจะเดินหน้าสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ต้องยอมรับว่าในทุกกระบวนการผลิตจะต้องไม่ปล่อยคาร์บอนฯ ซึ่งเรายังมีมิติความท้าทายด้านพลังงาน 3 ด้าน (Energy Dilemma) ที่ต้องเผชิญ ได้แก่ (1) ความมั่นคงทางพลังงาน (Energy Security) (2) ความสามารถในการจ่าย (Affordability) ที่ตอบโจทย์ภาคประชาชนในราคาค่าไฟฟ้าที่สามารถยอมรับได้ และ (3) ความยั่งยืนทางพลังงาน (Sustainability) ซึ่งต้องไม่ปลดปล่อยคาร์บอนฯ ดังนั้น การใช้พลังงานหมุนเวียนเพียงอย่างเดียว จึงยังไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสม ทั้งนี้ ยังไม่มีโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีใดสามารถตอบโจทย์ได้ทั้ง 3 ด้านข้างต้น ยกเว้น SMR ที่จะนำเราไปสู่เป้าหมาย Net Zero Emissions ได้
ทั้งนี้ GPSC มีความพร้อมในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้า SMR เนื่องจากมีความร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีดังกล่าว โดยเชื่อมั่นว่ากฎเกณฑ์ภาครัฐที่อยู่ระหว่างจัดทำขึ้นอย่างชัดเจน จะเป็นโอกาสในการเปิดให้มีการพัฒนา SMR ซึ่ง GPSC จะเป็นเอกชนรายแรกที่เดินหน้าโครงการนี้ โดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้นำร่องในไทย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS