{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 สำหรับมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมรถยนต์โบราณ (Classic Cars) (มาตรการภาษีรถยนต์โบราณฯ) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้มาตรการส่งเสริมงานศิลปะและรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีจำนวน 4 มาตรการย่อย ได้แก่ มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการซื้องานศิลปะ มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ มาตรการลดหรือยกเว้นภาษีอากรขาเข้างานศิลปะ และมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมรถยนต์โบราณ (Classic Cars)
สำหรับการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีสำหรับมาตรการภาษีรถยนต์โบราณฯ ดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ดังนี้
1. เห็นชอบการเพิ่มคุณสมบัติของรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ให้ครอบคลุมถึงรถยนต์ที่มีอายุเกิน 100 ปี
2. เห็นชอบในหลักการของแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตหรือบูรณะ (Restoration) รถยนต์โบราณ (Classic Cars) โดยให้รถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่นำเข้าและมีการบูรณะภายในประเทศ และส่งออกภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่ได้มีการนำเข้าสำเร็จ มีสิทธิได้รับคืนภาษีเต็มจำนวนในกรณีส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตามกฎหมาย
3. เห็นชอบร่างกฎหมาย 2 ฉบับ เพื่อกำหนดรายละเอียดแนวทางการดำเนินการที่เกี่ยวข้องในด้าน ภาษีอากรภายใต้มาตรการภาษีรถยนต์โบราณฯ ได้แก่ (1) ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งจะกำหนดพิกัดรถยนต์โบราณ (Classic Cars) ให้เป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่ง ไม่เกิน 10 คน ที่มีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณลักษณะที่อธิบดีประกาศกำหนด ในอัตราร้อยละ 45 ของราคาขายปลีกแนะนำ และ (2) ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรเเละยกเว้นอัตราอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 เเห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) ซึ่งมีการกำหนดการยกเว้นอากรแก่รถยนต์โบราณ (Classic Cars) ที่ต้องเป็นของตามประเภทพิกัด 87.03 หรือประเภทพิกัด 97.06 ที่นำเข้ามาแบบสำเร็จรูปทั้งคัน (Completely Built Up : CBU) ตามที่กรมสรรพสามิตกำหนด
ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการภาษีรถยนต์โบราณฯ มีความครอบคลุมถึงรถยนต์นั่งและรถยนต์ ที่มีอายุการใช้งานเกิน 100 ปี นอกจากจะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศและช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศให้เกิดการจ้างงานและการพัฒนาความรู้และทักษะ ของแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือบูรณะรถยนต์โบราณ ยังเป็นการอำนวยรายได้ให้แก่รัฐบาล ซึ่งกรมสรรพสามิต ได้ประมาณการว่า หากมีการดำเนินมาตรการภาษีรถยนต์โบราณฯ จะสามารถจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิตได้เพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งนอกจากจะสามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตแล้ว การนำเข้ารถยนต์โบราณ (Classic Cars) มาในประเทศยังส่งผลให้สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มเติมจากเม็ดเงินที่หมุนเวียนในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ การดำเนินมาตรการภาษีรถยนต์โบราณฯ มีความเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วนนอกเหนือจากกระทรวงการคลัง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งแต่ละภาคส่วนก็ได้เร่งดำเนินการยกร่างกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการดำเนินมาตรการภาษีรถยนต์โบราณฯ แล้ว
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS