{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
การเติบโตของอุตสาหกรรมที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอุตสาหกรรมในอดีตล้วนใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือสารฟรีออน (Chlorofluorocarbon : CFC) ในกระบวนการผลิต จำพวกอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น เช่นตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และอุตสาหกรรมการผลิตโฟม ทำให้สารเคมีฟรีออนระเหยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้ก๊าซโอโซนถูกทำลายและมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว
นานาประเทศจึงตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้และได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซนขึ้นในปี 2528 เรียกกันว่า “อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน” และจัดให้ลงนามใน “พิธีสาร มอนทรีออล (Montreal Protocol)” ในวันที่ 16 กันยายน 2530 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ อนุสัญญาเวียนนา องค์การสหประชาชาติจึงประกาศให้วันที่ 16 กันยายนของทุกปีเป็นวันโอโซนโลก (World Ozone Day)
จุดประสงค์ของอนุสัญญา คือเพื่อปกป้องสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้อุตสาหกรรมในประเทศที่ร่วมลงนามในอนุสัญญา ปัจจุบันมีอยู่ 197 ประเทศ เลิกหรือลดใช้สารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซน เช่น สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ เอชซีเอฟซี (hydrofluorocarbons : HCFCs), สารฮาลอน (halons) ที่ใช้เป็นสารดับเพลิง, สารเมทิลโบรไมด์ (methyl bromide) ที่ใช้ในการฆ่าแมลงกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น พร้อมกับให้ประเทศเหล่านี้ร่วมกันให้สัตยาบันพิทักษ์โอโซน
โอโซนคืออะไร
โอโซนคือ ก๊าซสีน้ำเงินที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ พบมากในชั้นบรรยากาศของโลก ก๊าซโอโซนนั้นจะแบ่งบทบาทตามชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งมีอยู่ 2 บทบาทหลักที่ถือว่ามีผลกระทบทั้งด้านดีและด้านร้ายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
โอโซนที่อยู่ในชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงจากพื้นดิน 0-15 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโอโซนที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น เกิดจากการเผาไหม้เครื่องยนต์จากการจราจรติดขัด เครื่องจักรและโรงงานอุตสาหกรรม โอโซนที่อยู่ในระดับนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพิษต่อร่างกายและให้โทษมากกว่า
โอโซนชั้นสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ในระดับ 15-50 กิโลเมตรจากพื้นดิน โอโซนในชั้นบรรยากาศนี้จะทำหน้าที่ปกป้องโลกจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก
ดังนั้นโอโซนที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ก็คือโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์ ส่วนโอโซนที่อยู่ในระดับต่ำกว่านั้นจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ และโอโซนที่อยู่ในระดับสูงขึ้นไปจนถึงชั้นอวกาศไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก
อย่างไรก็ตาม โอโซนที่อยู่ในชั้นสตราโทสเฟียร์ถูกทำลายลงอย่างมากจากสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งสารเคมีเหล่านี้จะทำปฏิกิริยากับโอโซน เกิดเป็นคลอรีนโมโนออกไซด์และก๊าซออกซิเจน เมื่อชั้นสตราโทสเฟียร์ไม่มีโอโซน ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตสามารถทะลุผ่านชั้นบรรยากาศลงมาได้ ส่งผลร้ายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างมาก เพราะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง และยังทำลายแบคทีเรีย รวมไปถึงจุลินทรีย์บางชนิดที่มีประโยชน์
วิธีปกป้องโอโซน
แม้ว่าอนุสัญญาจะกำหนดให้เลิกหรือลดการใช้สารเคมีฟรีออนและสารเคมีอื่นๆ ในอุตสาหกรรม แต่ในบางอุตสาหกรรมสารเคมีเหล่านี้ยังคงจำเป็นอย่างมากและยังคงต้องใช้อยู่ต่อไป ฉะนั้นหากต้องการจะปกป้องโอโซนและโลก ไม่ให้เกิดภาวะโลกร้อน สามารถทำได้โดยการหมั่นตรวจเช็คระบบแอร์รถยนต์ ล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศในบ้าน ไม่เปิดตู้เย็นบ่อย และควรเปลี่ยนตู้เย็นที่ใช้มานานกว่า 10 ปี รวมถึงเลิกใช้อุปกรณ์ที่เป็นกระป๋องสเปรย์ และวัสดุที่ทำจากโฟมทั้งหลาย เพียงเท่านี้ก็จะสามารถช่วยลดการใช้สารเคมีฟรีออนไปได้อีกทางหนึ่งด้วย
ขอขอบคุณข้อมูล
http://web.unep.org/ozonaction/who-we-are/overview
http://www.un.org/en/events/ozoneday/background.shtml
http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/62433/-blo-sciear-sci-
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS