{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้า 16 กันยายน 2567 ที่ระดับ 33.21 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น”จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 33.33 บาทต่อดอลลาร์
โดยนับตั้งแต่ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น (แกว่งตัวในกรอบ 33.20-33.39 บาทต่อดอลลาร์) ตามจังหวะการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ที่หนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ (All-Time High) หลังผู้เล่นในตลาดต่างเชื่อว่า เฟดยังมีโอกาสเร่งลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายนนี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลง หลังบรรดาอดีตเจ้าหน้าที่เฟดและอดีตที่ปรึกษาประธานเฟดออกมาสนับสนุนการเร่งลดดอกเบี้ยของเฟดในการประชุม FOMC เดือนกันยายนที่จะถึงนี้
สำหรับสัปดาห์นี้ เราประเมินว่า ควรระวังความผันผวนในตลาดการเงินที่จะสูงขึ้น ในช่วงตลาดรับรู้ ผลการประชุมบรรดาธนาคารกลางหลัก ทั้ง เฟด BOE และ BOJ (เรียงตามลำดับการรับรู้)
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
▪ ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) อย่างใกล้ชิด โดยเราประเมินว่า เฟดจะเริ่มวัฏจักรนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย (Monetary Easing) ด้วยการทยอยลดดอกเบี้ย -25bps สู่ระดับ 5.00%-5.25% พร้อมกันนั้นคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด หรือ Dot Plot ใหม่ อาจสะท้อนแนวโน้มการลดดอกเบี้ยราว -75pbs ในปีนี้ การลดดอกเบี้ยอีกราว -100bps ในปี 2025 และ การลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมในปี 2026 ราว -75bps จนถึงระดับ 2.75%-3.00% พร้อมกันนั้น ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ใหม่ของเฟด (Summary of Economic Projections) รวมถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ อย่าง ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนสิงหาคม และยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims)
▪ ฝั่งยุโรป –ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) โดยเราประเมินว่า BOE อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 5.00% ตามเดิม ทว่า BOE อาจส่งสัญญาณพร้อมทยอยลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม หากภาพรวมเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลงมากขึ้น ซึ่งเรามองว่า BOE อาจลดดอกเบี้ยอีกราว -50bps ในปีนี้ และนอกเหนือจากผลการประชุม BOE ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจอังกฤษ ผ่านรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนสิงหาคม รวมถึงยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนสิงหาคม นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของ ECB
▪ ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) หลังรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของญี่ปุ่น ในเดือนสิงหาคม โดยเรามองว่า BOJ จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.25% ตามเดิม ทว่าต้องจับตาการส่งสัญญาณของ BOJ ต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้า หลังการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งล่าสุด ได้ส่งผลให้ตลาดการเงินปั่นป่วนหนัก ซึ่งในครั้งนี้ เรามองว่า ยังคงต้องจับตาความเสี่ยงการเร่งปรับลดสถานะ JPY-Carry Trade และการเร่งเพิ่มสถานะ Net Long JPY (มองเงินเยนแข็งค่าขึ้น) ซึ่งอาจทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น เร็วและแรงในระยะสั้น กดดันให้ตลาดการเงินผันผวนสูงได้ และนอกเหนือจากผลการประชุม BOJ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) และธนาคารกลางไต้หวัน (CBC) โดยผู้เล่นในตลาดต่างประเมินว่า BI และ CBC จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 6.25% และ 2.00% ตามลำดับ
▪ ฝั่งไทย – แม้เราจะคงมุมมองเดิมว่า เงินบาทควรจะทยอยอ่อนค่าลงได้บ้าง โดยเฉพาะในกรณีที่เฟดไม่ได้เร่งลดดอกเบี้ยและไม่ได้ส่งสัญญาณพร้อมเร่งลดดอกเบี้ยใน Dot Plot ใหม่อย่างที่ผู้เล่นในตลาดกำลังคาดหวัง ทว่าโมเมนตัมการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทเริ่มมีกำลังมากขึ้น เปิดโอกาสให้เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นได้ไม่ยาก หากมุมมองของเราต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดนั้นผิดไปจากความเป็นจริง และเงินบาทอาจแข็งค่าหลุดโซน 33.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้ ซึ่งเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นต่อทดสอบโซน 32.50-32.75 บาทต่อดอลลาร์ ทว่า ในเชิง Valuation นั้น เรามองว่า การแข็งค่าของเงินบาทมากกว่าโซน 33 บาทต่อดอลลาร์นั้น ถือว่า เป็นระดับที่ Slightly Overvalued (Z-Score ของดัชนีค่าเงินบาท REER เกินระดับ +0.25) ซึ่งหากปัจจัยพื้นฐานไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ เงินบาทก็ไม่ควรแข็งค่าเกินระดับดังกล่าวไปมากนัก ซึ่งผู้ประกอบการอย่างฝั่งผู้นำเข้า (Importers) ก็ควรเตรียมพร้อมปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ เรายังคงแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ในการปิดความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเช่น Options หรือ สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราคงมุมมองเดิมว่า เงินบาทมีโอกาสทยอยอ่อนค่าลง หากผลการประชุมเฟดเป็นไปตามที่เราประเมินไว้ (เฟดไม่เร่งลดดอกเบี้ย และ Dot Plot ใหม่ก็ไม่ได้สะท้อนแนวโน้มการเร่งลดดอกเบี้ย อย่างที่ตลาดกำลังคาดหวัง) ทั้งนี้ ควรจับตาทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ รวมถึงการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาทองคำ พร้อมติดตามทิศทางเงินหยวนจีน (CNY) หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีนล่าสุด ออกมาแย่กว่าคาด
ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า ทิศทางของเงินดอลลาร์จะขึ้นกับการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด โดยเงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้น หากเฟดไม่ได้เร่งลดดอกเบี้ยและไม่ได้ส่งสัญญาณพร้อมเร่งลดดอกเบี้ย ทว่า เงินดอลลาร์อาจถูกกดดันบ้าง ตามการแข็งค่าขึ้นของทั้งเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) และเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ในกรณีที่ตลาดเชื่อว่า BOE จะไม่เร่งลดดอกเบี้ย ส่วน BOJ อาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้
เราคงคำแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรเลือกใช้เครื่องมือในการปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น ท่ามกลางความผันผวนของเงินบาท รวมถึงสกุลเงินอื่นๆ ที่สูงขึ้นกว่าช่วงอดีตที่ผ่านมาพอสมควร โดยผู้เล่นในตลาดอาจเลือกใช้เครื่องมือเพิ่มเติม อาทิ Options หรือ Local Currency ควบคู่ไปกับการปิดความเสี่ยงผ่านการทำสัญญา Forward
มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 33.00-34.10 บาท/ดอลลาร์
ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.10-33.30 บาท/ดอลลาร์
พูน พานิชพิบูลย์
นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน
Krungthai GLOBAL MARKETS
ธนาคารกรุงไทย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS