SCB EIC ประเมินอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงในปีนี้ ตาม Momentum เศรษฐกิจไทยและเงินเฟ้อแผ่วลงมาก

เศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง แม้จะได้รับผลกระทบจากนโยบายการเงินที่ตึงตัว เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจโลกช่วงต้นปีขยายตัวได้ดี โดยภาคบริการขยายตัวดีขึ้น ขณะที่ภาคการผลิตเริ่มทรงตัวหลังจากหดตัวนานปีกว่า อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกยังต้องเผชิญความไม่แน่นอนรอบด้าน โดยในปีนี้จะมีการเลือกตั้งใหญ่ในกว่า 60 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจรวมสูงกว่า 60% ของโลก ซึ่งอาจมีนัยต่อความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์โลก นอกจากนี้ การค้าและห่วงโซ่อุปทานโลกเผชิญความเสี่ยงจากการโจมตีเรือขนส่งสินค้าในบริเวณทะเลแดงและปัญหาน้ำแล้งในคลองปานามา ส่งผลให้เกิดความแออัดในการขนส่งทางเรือหรือต้องปรับเส้นทางเดินเรือ ทำให้ระยะเวลาการเดินทางและต้นทุนขนส่งสูงขึ้น ธนาคารกลางกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักจะเริ่มปรับทิศการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาส 2 โดยประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางอังกฤษจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาส 2 ตามทิศทางเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอลง ด้านธนาคารกลางญี่ปุ่นมีแนวโน้มยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ (Negative interest rate) ในไตรมาส 3 (หรืออย่างเร็วไตรมาส 2) ขณะที่จีนยังมีแนวโน้มผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่องผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราส่วนการสำรองของธนาคารพาณิชย์ขั้นต่ำ (RRR)

เศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปียังมีแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวดี ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่เร่งตัวจากนักท่องเที่ยวจีนเป็นหลัก โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ที่ได้อานิสงส์จากเทศกาลตรุษจีนรวมถึงนักท่องเที่ยวหลายประเทศกลับมาใกล้เคียงระดับปกติ สำหรับการท่องเที่ยวในประเทศ ผู้เยี่ยมเยือนไทยยังเติบโตได้ดีต่อเนื่องตามฤดูกาลท่องเที่ยว ขณะที่การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2566 พลิกกลับมาขยายตัว และมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นตามทิศทางการค้าโลกที่ฟื้นตัวท่ามกลางความเสี่ยงใหม่จากการชะงักของห่วงโซ่อุปทานโลก อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานยังอ่อนแอ โดยเฉพาะภาคการผลิตที่หดตัวต่อเนื่องในหลายอุตสาหกรรมและยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันให้ข้อมูลจริงของเศรษฐกิจไทยปี 2566 จะออกมาขยายตัวต่ำกว่าที่ SCB EIC เคยคาดการณ์ไว้ และมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าในระยะต่อไป

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2566 ถึงต้นปี 2567 ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลงตามมาตรการช่วยค่าพลังงานของภาครัฐ ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินไทยยังไม่เผชิญภาวะเงินฝืด เนื่องจากเงินเฟ้อติดลบไม่ได้กระจายไปในรายสินค้าเป็นวงกว้าง และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังเป็นบวก มองไปข้างหน้าเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและจะกลับมาขยายตัวในช่วงไตรมาส 2 ได้จากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทานเป็นหลักประกอบกับภาครัฐอาจทยอยปรับลดความช่วยเหลือด้านพลังงานในไตรมาส 2 หลังราคาพลังงานโลกปรับลดลงและกองทุนน้ำมันเริ่มมีภาระหนี้สูงขึ้นมาก

SCB EIC คาดว่าจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ สาเหตุจาก 1) เศรษฐกิจและเงินเฟ้อแผ่วลงมากในปีนี้ เช่น หากเศรษฐกิจไทยเติบโตเหลือ 2.5% และแนวโน้มเงินเฟ้อต่ำกว่ากรอบ 1-3% มาก และ 2) กนง. มองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สอดคล้องกับศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (Neutral rate) ที่ต่ำลงจากปัจจัย

เชิงโครงสร้าง ควรมีระดับต่ำลงกว่าที่เคยประเมินเอาไว้ สะท้อนจากมติ กนง. ไม่เป็นเอกฉันท์ในผลการประชุมวันที่

7 ก.พ. 2567 ที่เริ่มคำนึงถึงประเด็นนี้ สำหรับเงินบาทอ่อนค่าเร็วในช่วงต้นปี แต่แรงกดดันเงินบาทอ่อนค่าจะลดลง เนื่องจากตลาด Price out การลดดอกเบี้ยของ Fed ออกไปมากแล้ว และแรงกดดันด้านอ่อนค่าของสกุลเงินหลัก

ในภูมิภาคจะลดลง ทั้งนี้ยังคงมุมมองเงินบาทจะทยอยแข็งค่าได้สู่ระดับ 32.50-33.50 ณ สิ้นปีนี้

อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่นี่... https://www.scbeic.com/th/detail/product/eic-monthly-0224


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment