บสย. ผนึก สำนักเคเอกซ์ พระจอมเกล้าธนบุรียกระดับ ความมั่นคงด้านธุรกิจ-การเงิน SMEs

บสย.ร่วมมือกับสำนักเคเอกซ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เดินหน้า “โครงการพัฒนากลไกเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเติบโตด้วยนวัตกรรมและบริหารธุรกิจและการเงินอย่างมืออาชีพ” เสริมแกร่ง SMEs ไทย ต่อยอด จากงานวิจัยสู่ธุรกิจ

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) พร้อมด้วย ดร.ภัทรชาติ โกมลกิติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สำนักเคเอกซ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมลงนามความร่วมมือ “โครงการพัฒนากลไกเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเติบโตด้วยนวัตกรรมและบริหารธุรกิจและการเงินอย่างมืออาชีพ” พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs เพื่อเพิ่มสมรรถนะองค์กรและขีดความสามารถในการแข่งขัน เติมความรู้ ด้านวิชาการ และทุนวิจัยเพื่อนำมาต่อยอดธุรกิจอย่างเต็มประสิทธิภาพ ณ XCite Space ชั้น 17 อาคารเคเอกซ์ โดย บสย.ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ภายใต้กำกับกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อและแหล่งทุนในระบบ “ค้ำประกันสินเชื่อ” และเป็น “ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs” ส่งเสริมด้านความรู้ต่างๆให้ผู้ประกอบการ SMEs จะร่วมกับ สำนักเคเอกซ์ เพื่อส่งเสริม ผู้ประกอบการ SMEs ใน 4 แนวทางหลัก คือ

1 เพื่อผลักดันและส่งเสริมการนํางานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีไปพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs

2 เพื่อสร้างความเชื่อมโยงและบูรณาการในด้านต่างๆ (Ecosystem) ให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถนําไปพัฒนาต่อยอด โดยสามารถใช้บริการด้านการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs อย่างเป็นระบบ และ ครบทุกด้าน รวมทั้งเชื่อมต่อบริการจากเครือข่าย พันธมิตร และหน่วยงานต่างๆ

3 เพื่อสร้างระบบพี่เลี้ยงทางธุรกิจ (Mentor) ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs

4 เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งทุนในรูปแบบต่างๆ

ภายใต้โครงการความมร่วมมือครั้งนี้ จะสอดคล้องตามแนวนโยบายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศเพื่อเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 หรือ Thailand 4.0 โดยมุ่งส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ใน 11 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 2.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มผู้ที่มีรายได้สูงและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4.อุตสาหกรรมด้านเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 5.อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต 6.อุตสาหกรรมการบิน และ โลจิสติกส์ 7.อุตสาหกรรมดิจิทัล 8.อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 9.อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ 10. อุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน และ 11.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวิจัยเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเป็นการสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยในศตวรรษที่ 22

ทั้งนี้ บสย. และ สำนักเคเอกซ์ ได้เชิญสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ซึ่งเป็นหน่วยงานพันธมิตร ได้เข้าร่วมกันช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs แบบบูรณาการ โดยมีการจัดกิจกรรม Work shop ด้วยการเชิญผู้ประกอบการ SMEs ในเครือข่ายของทั้ง 3 หน่วยงาน เข้าร่วม “โครงการมืออาชีพในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน”โดยได้รับเกียรติจาก นายอนันต์ บูชาบุพพาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต และที่ปรึกษาอิสระ ร่วมแบ่งปันความรู้ “Waste Finding for Productivity Improvement” การค้นหาการสูญเสียเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า” และ ผศ.ดร.ธรรณพ อารีพรรค รองผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมให้ความรู้ ในหัวข้อ "Generative AI Tools for SME”. อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพ เครื่องมือที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องรู้ สำหรับการปรับตัวสู่โลกดิจิทัลในปัจจุบัน


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment