{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
วันที่ 1 กรกฎาคม 2511 เป็นวันลงนามสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty : NPT)
สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty : NPT) คือสนธิสัญญาที่ใช้ควบคุมและแก้ไขปัญหาการแข่งขันสั่งสมอาวุธนิวเคลียร์ของสองชาติมหาอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่พยายามแสวงหาและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพิ่มมากขึ้น
จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้นานาประเทศร่วมกันเสนอในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ ให้ร่างข้อตกลงเพื่อควบคุมและแก้ไขปัญหานี้ จึงเกิดเป็นสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งเปิดให้ร่วมลงนามเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2511 มีผลบังคับใช้ปี 2513 และได้รับการต่ออายุแบบถาวร (indefinite extension) เมื่อปี 2538
สาระสำคัญของสนธิสัญญาฉบับนี้ คือ ห้ามรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน ส่งหรือช่วยให้ประเทศอื่นๆ ผลิตหรือครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และห้ามรัฐที่ไม่ได้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์รับ แสวงหา หรือขอความช่วยเหลือในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ พร้อมกับให้จัดทำข้อตกลงพิทักษ์ความปลอดภัยว่าจะไม่นำพลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติไปดัดแปลงใช้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์
ปัจจุบันมีรัฐภาคีทั้งสิ้น 191 ประเทศทั่วโลกในจำนวนนี้รวม 5 ประเทศมหาอำนาจนิวเคลียร์ด้วย คือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และรัสเซีย และผู้สังเกตการณ์ 2 ประเทศ คือรัฐวาติกันและปาเลสไตน์ โดยประเทศที่ไม่ได้เป็นภาคี ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน อิสราเอล และซูดานใต้ (เซาท์ซูดาน) ส่วนเกาหลีเหนือถอนตัวออกจากสนธิสัญญาเมื่อปี 2546 และเพิ่งจะประกาศยุติการทดลองนิวเคลียร์ไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
รู้จักนิวเคลียร์
นิวเคลียร์เป็นพลังงานที่ซับซ้อนยากจะเข้าใจ หากไม่สันทัดทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างถ่องแท้ ในบทความนี้ขออนุญาตไม่ลงลึกถึงรายละเอียดของนิวเคลียร์ แต่จะอธิบายถึงคร่าวๆ ดังนี้
“นิวเคลียร์” เป็นคำคุณศัพท์ของคำว่า “นิวเคลียส (nucleus)” ภายในนิวเคลียสจะประกอบไปด้วยโปรตอนและนิวตรอน ซึ่งนิวเคลียสเป็นส่วนใจกลางของโครงสร้างอะตอมที่ประกอบด้วยอนุภาคต่างๆ คือ โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน
ภาพโครงสร้างอะตอม
พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นได้ทั้งตามธรรมชาติและจากที่มนุษย์สร้างขึ้น พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น พลังงานที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์
ส่วนพลังงานนิวเคลียร์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เครื่องเร่งอนุภาค สารไอโซโทปและระเบิดปรมาณู นอกจากนี้ พลังงานนิวเคลียร์สามารถปลดปล่อยรังสีและอนุภาคต่างๆ เช่น รังสีแกมมา อนุภาคแอลฟา และอนุภาคนิวตรอน พร้อมกับพลังงานอื่นๆ เช่น พลังงานความร้อน และพลังงานแสงฯ เป็นต้น
พลังงานนิวเคลียร์ มีอยู่ 4 แบบ คือ
1. พลังงานนิวเคลียร์ฟิวชัน (fusion) เช่น ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันในดวงอาทิตย์ ที่ให้พลังงานแสง และพลังงานความร้อนจำนวนมหาศาลแก่โลก
2. พลังงานนิวเคลียร์ฟิชชัน (fission) สามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานแบบนี้ในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และการสร้างระเบิดปรมาณู
3. ไอโซโทปกัมมันตรังสี (radioisotope) จะปลดปล่อยรังสีจำพวก รังสีแกมมา รังสีเอกซ์หรือเอกซเรย์ เราสามารถใช้ประโยชน์จากรังสีชนิดนี้ในการรักษาโรคมะเร็งและเนื้องอกได้
4. พลังงานนิวเคลียร์จากการเร่งอนุภาคให้มีพลังงานสูง เราใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนในการรักษาโรคมะเร็งในโรงพยาบาลต่างๆ มากกว่า 10 แห่งในประเทศไทย
ข้อดี – ข้อเสียของพลังงานนิวเคลียร์
พลังงานนิวเคลียร์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมาย แต่หากนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีนั้นจะก่อให้เกิดโทษที่กลายเป็นผลกระทบลูกโซ่ไปอีกหลายสิบปี
ประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์
นอกจากนิวเคลียร์จะสามารถนำไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าหรือนำรังสีมาใช้ในด้านต่างๆ ได้แล้วนั้น ยังสามารถนำมาผลิตเป็นอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงได้อีกด้วย ปัจจุบันทั่วโลกมีอาวุธนิวเคลียร์อยู่เกือบ 15,000 นัด ประเทศที่ถือครองอาวุธนิวเคลียร์มากที่สุด คือ
จากข้อมูลขององค์กรอิสระด้านการวิจัยสันติภาพ (SIPRI) กล่าวว่า จำนวนการถือครองอาวุธนิวเคลียร์ทั่วโลกลดลงจาก 70,000 นัดในปี 2523 เหลือ 15,000 นัดในปี 2560 เป็นผลมาจากสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ที่ควบคุมประเทศที่ถือครองอาวุธนิวเคลียร์ไม่ให้มีเพิ่ม และห้ามประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์แสวงหาหรือคิดจะผลิตอาวุธนิวเคลียร์
แม้ว่าพลังงานนิวเคลียร์จะเป็นพลังงานที่คุ้มค่าในการใช้ประโยชน์ หรือสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ แต่ผลกระทบจากการกำจัดกากกัมมันตภาพรังสี รวมถึงภัยเสี่ยงต่างๆ จากพลังงานนิวเคลียร์หรืออาวุธนิวเคลียร์ที่มีอยู่ 15,000 นัดทั่วโลกในตอนนี้กลับเป็นภัยร้ายแรงต่อสรรพชีวิตบนโลก
ขอขอบคุณข้อมูล
http://www.mfa.go.th/thai_inter_org/th/policy/6460/71954-อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง.html
https://www.un.org/disarmament/wmd/nuclear/npt/
http://www.nst.or.th/article/article0111.htm
https://thanaporn23209.wordpress.com/category/พลังงานนิวเคลียร์/ประโยชน์ของพลังงานนิวเ/
https://greenliving.lovetoknow.com/Advantages_and_Disadvantages_of_Nuclear_Energy
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS