{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
การเกิดขึ้นของความขัดแย้งระหว่างรถรับจ้างสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นรถแท็กซี่ หรือรถมอเตอร์ไซด์วินรับจ้าง กับรถรับจ้างส่วนบุคคลที่เรียกผ่านแอพลิเคชั่นยังคงมีให้เห็น
เพียงแต่เปลี่ยนคู่ทะเลาะจาก Uber ที่จำต้องถอนตัวการให้บริการออกไปจากภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ โดยขายหุ้นให้ GRAB เข้ามาบริหารจัดการแทน
แม้ Uber จะถอย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นช่วงหลังเริ่มมีความรุนแรง โดยเฉพาะระหว่างรถมอเตอร์ไซด์วินกับรถ GRAB BIKE จนไปถึงการรวมตัวของมอเตอร์ไซด์วินไปประท้วงถึงหน้า บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ที่เป็นผู้ให้บริการ GRAB
กรมการขนส่งในฐานะผู้ที่ดูแลการใช้รถ ก็พยายามที่จะเข้ามาดูแลและหาทางออก แต่ดูเหมือนยังหาทางออกไม่เจอ เลยทำให้ปัญหายืดเยื้อมาหลายปี
จึงมีการตั้งคำถามว่า ต้นตอของปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหน ใครถูกใครผิด
ต้องยอมรับการเข้ามาของ GRAB ถือว่ามาช่วยเติมเต็มระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเฉพาะการเรียกแท็กซี่ปกติแล้วไม่ยอมไป หรือทิ้งไว้ระหว่างทาง บริการไม่สุภาพ เป็นต้น
โดยรับสมัครแท็กซี่เข้าร่วมให้บริการผ่านแอพพลิเคชั่น พร้อมให้ผลตอบแทนจูงใจที่ดี จนมีแท็กซี่จำนวนมากเข้าร่วม รวมไปถึงการนำเอารถมอเตอร์ไซด์วินเข้าร่วมให้บริการด้วย
จนสามารถช่วยลดปัญหาเรียกรถสาธารณะไปได้ในระดับหนึ่ง
แต่ปัญหาเกิดขึ้นก็เพราะ GRAB ได้เปิดบริการเพิ่มเติม นอกเหนือจากรถแท็กซี่แล้ว ยังเปิดให้บริการรับจ้าง โดยใช้รถส่วนยนต์ส่วนบุคคลและรถมอเตอร์ไซด์ส่วนบุคคลมารับจ้าง แม้จะผิดกฎหมาย
ซึ่งตามกฎกระทรวง กำหนดเงื่อนไขสำหรับรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซด์ที่จะมาให้บริการสาธารณะอย่างชัดเจน รวมถึงคุณสมบัติของผู้ขับขี่รถสาธารณะ ไปจนถึงการลงทะเบียนเพื่อทำการตรวจสอบ
มีการโฆษณารับสมัครเจ้าของรถยนต์ส่วนบุคคลและมอเตอร์ไซด์ส่วนบุคคลมาให้บริการอย่างโจ่งครึ่ม แม้ว่าการนำรถยนต์ดังกล่าวมาให้บริการจะเป็นการผิดกฎหมายก็ตาม
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กรุงเทพมหานคร (กอ.รมน.กทม.) ได้สรุปและกำชับผู้ให้บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่นให้ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย
รถที่ให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสาร ต้องเป็นรถที่ใช้ป้ายทะเบียนสำหรับรถยนต์รับจ้าง (ป้ายเหลือง) เท่านั้น ห้ามรถที่ใช้ป้ายทะเบียนส่วนบุคคล (ป้ายขาว) มาให้บริการรับ-ส่งเด็ดขาด
หากมีการตรวจพบรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ติดสัญลักษณ์บริษัทแกร็บฯ กระทำผิดกฎหมาย ถึงแม้รถคันดังกล่าวจะถูกยกเลิกสัญญาจากบริษัทฯ แล้วก็ตาม ยังคงถือเป็นความรับผิดชอบของบริษัทฯ
นาย ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ยันพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐ แต่ยังจำเป็นต้องมีรถมอเตอร์ไซค์ป้ายขาวออกมาวิ่งให้บริการ แม้ว่าจะเป็นบริการที่ผิดกฎหมาย เพราะมอเตอร์ไซค์ป้ายเหลืองในระบบ GRAB มีไม่เพียงพอให้บริการกับความต้องการ
เหมือนกับเป็นการท้าทายกฎหมาย เพราะรู้ว่าผิดแต่ก็ยังจะเปิดบริการต่อไป
อย่างไรก็ตาม การประชุมหารือร่วมกันระหว่างสมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์แห่งประเทศไทย ฝ่ายทหาร กรมการขนส่งทางบก และ GrabBike (แกร็บไบค์) ระบุว่า ทาง Grab จะใช้ระยะเวลา 1 เดือน ในการดำเนินการเอารถป้ายดำมาจดทะเบียนเป็นรถป้ายเหลืองให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยยึดหลักเกณฑ์เหมือนกันกับวินรถมอเตอร์ไซด์ที่มีอยู่กว่า 6,000 แห่ง
พร้อมเพิ่มสิทธิให้รถมอเตอร์ไซด์ป้ายเหลืองทั้งหมด สามารถเข้าไปลงทะเบียนในแอพพลิเคชั่นต่างๆ สามารถรับผู้โดยสารข้ามเขตได้ในระยะทางที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดด้วย
นอกจากนี้ ต้องไม่ลืมถึงรถยนต์ป้ายขาวที่ GRAB นำมาให้บริการด้วย ซึ่งควรจะบังคับให้บริษัททำให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย เพื่อสร้างความเป็นธรรมบนกฎหมายเดียวกัน
ต้องไม่ปล่อยให้การกล่าวอ้างเพื่อประโยชน์ของสังคม แต่กลับเอาเปรียบกลุ่มคนอื่นๆ
คงต้องรอดูความคืบหน้า ว่าทุกฝ่ายจะทำให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
ล่าสุด Go-Jek แอพลิเคชั่นขนส่งจากอินโดนีเซียจะเข้ามาทำตลาดอีก รวมถึงแอพลิเคชั่นการเรียกรถของไทยอย่าง Taxi OK
จะได้เกิดการแข่งขันบนมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน
ไม่เกิดปัญหาเดิมๆ ขึ้นมาอีก
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS