{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) ประกาศปรับหลักเกณฑ์การสมัครทดสอบสอบนวัตกรรมใน ETDA Sandbox ขยายคุณสมบัติเจ้าของนวัตกรรมเปิดรับ สตาร์ทอัพ และกลุ่มนิสิต นักศึกษาที่มีสถาบันรองรับ ไม่จำกัดรอบการสมัคร
นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) (Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า ETDA ดำเนินโครงการทดสอบนวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ที่เราเรียกกันว่า “ETDA Sandbox” ก็เพื่อเป็นสนามเตรียมความพร้อมให้เจ้าของนวัตกรรม ได้มีพื้นที่หรือสนามทดลองในการใช้นวัตกรรมหรือบริการดิจิทัลนั้น ๆ กับผู้ใช้บริการจริงในวงจำกัด เพื่อตีกรอบการใช้งานและผลกระทบให้แคบลง ก่อนนำนวัตกรรมหรือบริการดิจิทัล ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการจริงๆ ซึ่งปัจจุบัน ETDA Sandbox เปิดสนามทดสอบนวัตกรรมหรือบริการดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งหมด 3 โซลูชั่น ได้แก่ 1) การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) 2) การประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) และ 3) เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) โดยเกณฑ์การรับสมัครเข้าสู่ ETDA Sandbox เดิมจะเป็นไปตามประกาศ สพธอ. เรื่อง แนวทางการเข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 ที่กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครว่าจะต้องเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด หรือองค์กรเอกชนหรือนิติบุคคลอื่น ที่สำนักงานกำหนด มีทรัพยากร เงินทุน ระบบงาน และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2 ปีขึ้นไป มีกรรมการ หรือผู้ซึ่งมีอำนาจจัดการของนิติบุคคลของผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ประกาศฯ กำหนด และมีขั้นตอน
การสมัครที่เน้นเพื่อการพิจารณานวัตกรรมหรือบริการทางดิจิทัลให้เข้าสู้การทดสอบในสนาม ETDA Sandbox ที่ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการ แจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมการทดสอบ ยืนคำขอเข้าร่วมผ่านทางอีเมล เข้าเสนอแผนการทดสอบ ลงนามข้อตกลง เริ่มทดสอบ จนกระทั้งออกจากสนามทดสอบ เป็นต้น โดยจะมีการเปิดรับนวัตกรรมหรือบริการเข้าสู่สนาม ETDA Sandbox เป็นรอบๆ ตามที่ ETDA กำหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่เปิดสนามทดสอบมีหน่วยงานรัฐ เอกชน นำนวัตกรรมเข้าร่วมทดสอบในสนาม Sandbox แล้วรวม 5 รายที่รวมถึงหน่วยงานสำคัญของภาครัฐด้วย ได้แก่ 1.บริษัท เนชั่นแนล ดิจิทัล ไอดี จำกัด โซลูชั่นเกี่ยวกับ Digital ID, 2.บริษัท บีทามส์ โซลูชั่น จำกัด โซลูชั่นเกี่ยวกับ e-Document, 3.บริษัท เจเวนเจอร์ส จำกัด โซลูชั่นเกี่ยวกับ Digital ID และ e-Meeting, 4.บริษัท ไทยแอดวานซ์ อินโนเวชั่น จำกัด โซลูชั่นเกี่ยวกับ e-Document และ 5. กรมการปกครอง โซลูชั่นเกี่ยวกับ Digital ID
ดังนั้น เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าของนวัตกรรมที่ไม่ได้เป็นกลุ่มนิติบุคคล หรือหน่วยงานรัฐหรือเอกชน แต่มีนวัตกรรมหรือบริการดิจิทัลใหม่ๆ สามารถเข้าร่วมทดสอบใน ETDA Sandbox ได้ และเกิดการร่วมสร้างนวัตกรรมหรือบริการดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จะนำไปสู่การใช้งานได้จริงยิ่งขึ้น พร้อมๆ กับการมีกลไกในการส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างผู้เข้าร่วมการทดสอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการใช้งานจริงได้มากที่สุด ETDA จึงเดินหน้าปรับปรุงแก้ไข “ประกาศ สพธอ. เรื่อง แนวทางการเข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563” เกิดเป็น“ประกาศ สพธอ. เรื่อง แนวทางการเข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564” ฉบับล่าสุด ซึ่งประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยสาระสำคัญ
ได้มีการแก้ไขคุณสมบัติของเจ้าของนวัตกรรมหรือบริการดิจิทัลที่จะเข้าร่วมทดสอบในสนาม ETDA Sandbox ที่ไม่จำกัดเพียงแค่กลุ่มนิติบุคลที่เป็นหน่วยงานรัฐ เอกชน เท่านั้น แต่ยังขยายไปยังกลุ่มสตาร์ทอัพ บุคคล หรือนิสิต นักศึกษา ที่มีนวัตกรรม ได้รับการรับรองจากหน่วยงานหรือองค์กรที่สำนักงานกำหนด และมีทรัพยากร เงินทุน ระบบงานและบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาหรือการให้บริการนวัตกรรมหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่กำหนดระยะเวลาของประสบการณ์ และเพิ่มขั้นตอนกระบวนการในการรับสมัครเข้าร่วมทดสอบนวัตกรรม ที่ไม่เน้นเพียงเปิดรับสมัครและพิจารณาความพร้อมของนวัตกรรมหรือบริการ เพื่อการเข้าสู่สนาม ETDA Sandbox เท่านั้น แต่ยังเพิ่มกระบวนการในการสร้างความร่วมมือเพื่อร่วมสร้างนวัตกรรม (Co-Create) เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าของนวัตกรรมหรือบริการดิจิทัล ที่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมทดสอบ ได้นำเสนอแผนการทดสอบต่อ ETDA สู่การหารือ เพื่อร่วมกำหนดลักษณะของนวัตกรรมและบริการ กระบวนการ ขั้นตอน เป้าหมายในการทดสอบ ตัวชี้วัดความสำเร็จในการทดสอบ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง รวมถึงแผนรองรับหลังออกจากการทดสอบ และระดับความสำเร็จ ก่อนส่งข้อมูลเพื่อพิจารณาจริง
ซึ่งตามประกาศฉบับใหม่นี้ กล่าวได้ว่า ETDA จะทำหน้าที่ในการช่วยเป็นที่ปรึกษา พี่เลี้ยงให้กับผู้สมัครตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อเตรียมพร้อมก่อนยื่นคำขอเข้าร่วมทดสอบในสนาม ETDA Sandbox และเนื่องจากหลักเกณฑ์ใหม่นี้ไม่ได้จำกัดรอบในการรับสมัคร จึงส่งผลให้เจ้าของนวัตกรรมสามารถสมัครเข้าร่วมทดสอบได้ตลอดทั้งปี และระหว่างที่ผู้สมัครที่ผ่านการพิจารณาและอยู่ระหว่างการรอคิวเข้าทดสอบ หรือที่เรียกว่า Waiting Pool จะสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ ETDA ได้เตรียมไว้ให้ ทั้งการอบรม การเรียนรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมถึงการเปิดพื้นที่หรือเวทีสำหรับการหารือร่วมกับพาร์ทเนอร์รายอื่นๆ เพื่อการหาไอเดียเพิ่มเติมระหว่างการรอเข้าสู่สนามทดสอบ เป็นต้น
สำหรับเจ้าของนวัตกรรมหรือบริการดิจิทัลที่สนใจเข้าร่วมทดสอบนวัตกรรมกับ ETDA Sandbox สามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมทดสอบได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หากมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลข่าวสารรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ ETDA (Link: https://www.etda.or.th/th/Our-Service/Digital-Service-Sandbox.aspx) หรือที่เพจเฟซบุ๊ก ETDA Thailand หรือโทร 02 123 1200
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS