{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป (CWT) เผยบริษัทในเครือ “ชัยวัฒนา กรีน” ผ่านคุณสมบัติและคำเสนอขอขายไฟฟ้าด้านเทคนิคในโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน 2 โครงการ ในจังหวัดอุบลราชธานี-ศรีสะเกษ มั่นใจในศักยภาพและความพร้อมในทุกด้าน
นายวีระพล ไชยธีรัตต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (CWT) เปิดเผยว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านพิจารณาคุณสมบัติและข้อเสนอขอขายไฟฟ้าด้านเทคนิค โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) พ.ศ. 2564 รับซื้อไฟฟ้าเข้าระบบ ไม่เกิน 150 เมกะวัตต์ โดยบริษัทย่อยของ บริษัท ชัยวัฒนา กรีน จำกัด ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติและคำเสนอขอขายไฟฟ้าทางเทคนิคจำนวน 2 โครงการ จากการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล ได้แก่ 1.บริษัท ทุ่งศรีอุดม เพาเวอร์ จำกัด ที่ตั้ง ตำบลนาห่อม อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี และ 2. บริษัท เบญจลักษ์ เพาเวอร์ จำกัด ที่ตั้ง ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปริมาณเสนอขายไม่เกิน 3 เมกะวัตต์ต่อโครงการ โดยชัยวัฒนา กรีน ถือหุ้นในสัดส่วน 60% ทั้ง 2 โครงการ
ทั้งนี้ กฟภ. มีกำหนดประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการภายในวันที่ 9 กันยายน 2564 และกำหนดลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 120 วัน นับจากวันประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก หรือภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567
ในของส่วนโครงการที่ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติและคำเสนอขายไฟฟ้าด้านเทคนิค บริษัทฯ พร้อมเตรียมยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ภายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ต่อไป
“เราได้ยื่นเรื่องไปทั้งหมด 13 โครงการ ผ่านเกณฑ์พิจารณา 2 โครงการ ถือว่าเป็นที่พึงพอใจ อย่างไรก็ตาม อยู่ระหว่างอุทธรณ์ในโครงการที่เหลือ เนื่องจากมั่นใจว่ามีความพร้อมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน เทคโนโลยี แหล่งเงินทุน และด้านเชื้อเพลิง อีกทั้งเรายังมีประสบการณ์ในการสร้าง และบริหารโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ได้รับความร่วมมือจากวิสาหกิจชุมชนมาก่อน หากได้งานดังกล่าวเพิ่มเติม จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยผลักดันผลการดำเนินงานของ CWT เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจในระดับฐานรากเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต”นายวีระพล กล่าวในที่สุด
ปัจจุบัน CWT มีโรงไฟฟ้าที่ขายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว 2 โรง รวม 14 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าชีวมวล ขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ขนาดกำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์ อีกทั้งยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนา คือ โรงไฟฟ้าขยะชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ขนาดกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ ปัจจุบันได้สัญญาบริหารจัดการขยะแล้ว 25 ปี และอยู่ระหว่างขอ PPA
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS