เศรษฐกิจการคลังภูมิภาคเม.ย.64ไม่ดีกังวลโควิด-19

เศรษฐกิจภูมิภาคเม.ย.2564 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นแต่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง ความกังวลโควิด-19 ระลอกใหม่

นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนเมษายน 2564 ว่า เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนเมษายน 2564 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าในหลายภูมิภาค ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2564”โดยมีรายละเอียดดังนี้

เศรษฐกิจภาคกลางได้รับปัจจัยสนับสนุนจากด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2564 โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (ข้อมูลเบื้องต้น) จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 76.3 32.7 และ 116.6 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดี สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 26.3 และ 47.1 ต่อปี ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.4 และ 11.7 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 5,388.6 ต่อปี ด้วยจำนวนเงินทุน 12.7 พันล้านบาท จากโรงงานทำผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส เช่น ไซโล กรอบพัดลม อุปกรณ์การเกษตร ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.8 และ 86.2 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 47.0 และ 89.2 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออกได้รับปัจจัยสนับสนุนจากด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2564 โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (ข้อมูลเบื้องต้น) และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 51.4 และ 39.9 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดี สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 19.6 ต่อปี นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 162.9 ต่อปี ด้วยจำนวนเงินทุน 2.0 พันล้านบาท จากโรงงานทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสม ในจังหวัดชลบุรี เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 48.9 และ 103.0 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.3 และ 106.3 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคเหนือได้รับปัจจัยสนับสนุนจากด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2564 โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (ข้อมูลเบื้องต้น) จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ที่ขยายตัวร้อยละ 64.8 13.9 และ 62.9 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดี สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 24.3 และ 30.1 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 124.6 ต่อปี ด้วยจำนวนเงินทุน 0.5 พันล้านบาท จากโรงงานฆ่า ชำแหละ ตัดแต่ง และแปรรูปสุกร ในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 48.2 และ 62.3 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.5 และ 65.8 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคใต้ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2564 โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (ข้อมูลเบื้องต้น) จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ที่ขยายตัวร้อยละ 91.6 11.1 และ 66.0 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดี สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 30.1 และ 68.0 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี ด้วยจำนวนเงินทุน 0.3 พันล้านบาท จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -93.0 ต่อปี จากโรงงานผลิต

น้ำแข็งซอง และน้ำแข็งก้อนเล็ก ในจังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 42.4 และ 83.1 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 45.0 และ 86.9 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันตกได้รับปัจจัยสนับสนุนจากด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2564 โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (ข้อมูลเบื้องต้น) จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 60.7 16.4 และ 108.5 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดี สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 42.7 และ 68.4 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 44.8 และ 86.2 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 47.0 และ 89.2 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับปัจจัยสนับสนุนจากด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2564 โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (ข้อมูลเบื้องต้น) จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 66.8 14.4 และ 97.7 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดี สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 33.3 และ 85.4 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 49.5 และ 75.3 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.8 และ 79.9 ตามลำดับ

เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล ค่อนข้างทรงตัว สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2564 โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (ข้อมูลเบื้องต้น) และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 66.7 และ 42.2 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนทรงตัว สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ อยู่ที่ร้อยละ -7.5 5.9 และ -68.8 ตามลำดับ สำหรับในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 44.8 และ 86.2 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 47.6 และ 89.2 ตามลำดับ


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment