ย้ำให้ต่ออายุ รฟฟ. VSPP ชีวมวลได้ สำหรับรายที่ได้เคยเปลี่ยนจากประเภท Adder เป็น FiT เท่านั้น

“กกพ.” ย้ำ มติ กพช. กำหนดให้ต่ออายุ รฟฟ. VSPP ชีวมวลได้ สำหรับรายที่ได้เคยเปลี่ยนจากประเภท Adder เป็น FiT เท่านั้น

ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า จากการร้องเรียนของผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ที่ได้รับการชดเชยรูปแบบ Adder เพื่อขอความเป็นธรรมในการปรับอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับการต่ออายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้กับโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เปลี่ยนรูปแบบการรับซื้อไฟฟ้าจากระบบ Adder เป็น Feed-in Tariff (FiT) กกพ. ไม่สามารถดำเนินการได้

เนื่องจากเป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมครั้งที่ 1/2567 (ครั้งที่ 167) เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 ซึ่งเห็นชอบให้เฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลประเภทที่เปลี่ยนรูปแบบการอุดหนุนจากประเภท Adder เป็น FiT ให้สามารถต่ออายุสัญญาตามจำนวนปีที่ถูกปรับลดได้ ในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 2.28 บาท/หน่วย

“กกพ. ได้แจ้งความเห็นให้กับภาคเอกชนแล้ว และจะได้ส่งเรื่องของ VSPP ไปยังสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เพื่อประกอบการพิจารณาของภาคนโยบายต่อไป เพราะไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของ กกพ. การดำเนินการนี้อยู่ภายใต้กรอบนโยบายของ กพช.เพื่อคงประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าชีวมวลเดิมที่ยังสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่กระทบต่อค่าไฟฟ้าของประชาชน” ดร.พูลพัฒน์ กล่าว

โดยหลักเกณฑ์การต่ออายุสัญญาจะครอบคลุมเฉพาะโครงการที่ได้เปลี่ยนจากระบบ Adder เป็น FiT ตามมติ กพช. เมื่อปี 2559 และสามารถต่ออายุได้ เท่ากับระยะเวลาที่สัญญาเดิมถูกปรับลด ตามช่วงเวลาที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์แล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้ ดำเนินการแล้ว (ตามตาราง)

ทั้งนี้ โครงการที่ได้รับการต่ออายุสัญญาจะได้รับ อัตรารับซื้อไฟฟ้าแบบคงที่ 2.28 บาทต่อหน่วย สำหรับกำลังผลิตตามสัญญาทุกขนาด ตลอดอายุสัญญาที่เหลือ โดยคำนวณจากต้นทุนดำเนินการที่เหมาะสม และไม่รวมต้นทุนการลงทุนเดิม (CAPEX) ที่ได้คืนทุนไปแล้ว

“การพิจารณาอัตรารับซื้อไฟฟ้าในช่วงต่ออายุนี้มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อเนื่อง โดยที่เครื่องจักรอุปกรณ์ยังคงสภาพที่มีประสิทธิภาพใช้การได้ ขณะเดียวกันก็ไม่สร้างภาระให้กับค่าไฟฟ้าของประชาชน” ดร.พูลพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติม

สำหรับใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (REC) หรือคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าในช่วงสัญญาที่ต่ออายุนั้น กพช. มีมติให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการไฟฟ้าในฐานะผู้รับซื้อ หรือภาครัฐ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานสะอาดของประเทศ กกพ. พิจารณาแล้วว่า ทุกโครงการมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟภ. และมติ กพช. กำหนดเงื่อนไขต่างๆ เกี่ยวกับการต่ออายุโครงการแล้ว กกพ. จึงให้กฟภ. ในฐานะคู่สัญญา ปฏิบัติตามมติ กพช.

สำนักงาน กกพ. จะดำเนินการตามนโยบายอย่างเคร่งครัด เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างมีเสถียรภาพ และสร้างสมดุลระหว่างภาคการผลิตไฟฟ้าและประโยชน์ของประชาชนอย่างยั่งยืน


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment