{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กรมทางหลวงชนบท สร้างถนนสายส่วนต่อขยายถนนเฉลิมพระเกียรติ จ.นครศรีธรรมราช กว่า 10 กิโลเมตร รุดหน้าเร็วกว่าแผน มุ่งรองรับการเติบโตของเมือง แก้จราจรติดขัดในระยะยาว เสริมเศรษฐกิจการคมนาคมขนส่งและการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม คาดแล้วเสร็จในปี 2570
นายมนตรี เดชาสกุลสม อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยความคืบหน้าโครงการก่อสร้างถนนสายส่วนต่อขยายถนนเฉลิมพระเกียรติ ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งทั้ง 2 ตอน มีผลการก่อสร้างเร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้ คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2570 เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในตัวเมือง เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งรอบตัวเมือง ควบคู่ไปกับการรองรับการเจริญเติบโตของเมืองในอนาคต ทั้งยังเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดได้อย่างเป็นรูปธรรมอีกทางหนึ่งด้วย โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ตอน ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 ปัจจุบันมีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 23 เร็วกว่าแผน ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานในส่วนของโครงสร้างทาง งานถมคันทาง ซึ่งโครงการฯ มีจุดเริ่มต้นโครงการ กม.ที่ 0+000 เชื่อมต่อกับ ทล.408 (กม.ที่ 7+000 – 7+600) และจุดสิ้นสุดโครงการ เชื่อมต่อกับถนนทางหลวงชนบทสาย นศ.4039 รวมระยะทาง 5.500 กิโลเมตร ดำเนินการก่อสร้างเป็นผิวจราจรแบบแอสฟัลต์ติกคอนกรีต ขนาด 4 – 6 ช่องจราจร มีเกาะกลางถนน พร้อมก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 แห่ง มีระบบระบายน้ำ ไฟฟ้าแสงสว่าง การติดตั้งเครื่องหมายจราจร สิ่งอำนวยความปลอดภัยตลอดเส้นทาง
ตอนที่ 2 ปัจจุบันมีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 30 เร็วกว่าแผน ขณะนี้อยู่ระหว่างงานถมคันทาง และก่อสร้างตอม่อสะพานข้ามคลองชลประทานและสะพานข้ามทางแยกต่างระดับ ซึ่งโครงการฯ มีจุดเริ่มต้นโครงการ กม.ที่ 5+500 เชื่อมต่อจากถนนสายส่วนต่อขยายถนนเฉลิมพระเกียรติ ตอนที่ 1 จุดตัดถนนทางหลวงชนบทสาย นศ.4039 และมีจุดสิ้นสุดโครงการฯ (กม.ที่ 10+780) เชื่อมต่อกับ ทล.4013 (ตอน อ.เมืองนครศรีธรรมราช – อ.ปากพนัง) และเชื่อมต่อกับถนนเฉลิมพระเกียรติ รวมระยะทาง 5.280 กิโลเมตร ดำเนินการก่อสร้างเป็นผิวจราจรแบบแอสฟัลต์ติกคอนกรีต ขนาด 4 ช่องจราจร มีเกาะกลางถนน พร้อมก่อสร้างสะพานข้ามคลอง 2 แห่ง สะพานข้ามทางแยก 1 แห่ง มีระบบระบายน้ำ ไฟฟ้าแสงสว่าง การติดตั้งเครื่องหมายจราจร สิ่งอำนวยความปลอดภัยตลอดเส้นทาง
นอกจากในเรื่องมาตรฐานงานก่อสร้างแล้ว ยังได้เน้นย้ำไปถึงเรื่องความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้าง การติดตั้งป้ายเตือนให้ประชาชนสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน การป้องกันและรับมือกับฝุ่น PM2.5 โดยให้เพิ่มรอบในการรดน้ำ การจัดการกับเศษวัสดุในโครงการ รวมไปถึงการตรวจสอบดูแลเครื่องจักรกล และยานพาหนะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดควันดำในบริเวณโครงการอีกด้วย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS