{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นายกิตติพงษ์ บุรณศิริ รองผู้จัดการทั่วไป สายงานกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์ และผู้บริหารจากสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย นำโดย นายสุวัชร์ ศุภกาญจน์เดชากุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และกลุ่มบริษัทลีสซิ่ง นำโดย นายศรัณย์ ทองธรรมชาติ ประธานกรรมการสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย และผู้แทนจากกลุ่มบริษัทลีสซิ่ง ร่วมประชุมและหารือแนวทางกระตุ้นยอดค้ำรถกระบะ ภายใต้มาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ” เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 ณ ห้องประชุมคณะกรรมการ บสย. สำนักงานใหญ่ อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ 2
นายสิทธิกร กล่าวว่า ตั้งแต่เปิดโครงการค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อรถกระบะใหม่ “บสย. SMEs PICK-UP” ภายใต้มาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ” เพื่อปลดล็อกให้กับ SMEs ที่จำเป็นต้องใช้รถกระบะเพื่อประกอบอาชีพ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 โดยเป็นมาตรการภายใต้นโยบายของภาครัฐ ที่มุ่งช่วย SMEs ลดภาระทางการเงิน ด้วยสิทธิประโยชน์ ฟรี! ค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 3 ปีแรก โดยรัฐบาล กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมค้ำประกันให้ ส่วนปีที่ 4-7 คิดค่าธรรมเนียมค้ำประกันต่ำเพียง 1.5% ต่อปี ของภาระหนี้ค้ำประกันคงเหลือในแต่ละปี พร้อมค้ำประกันนานถึง 7 ปี โดย บสย. เปิดรับคำขอค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา และจะสิ้นสุดรับคำขอค้ำประกันภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2568
“มาตรการนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ บสย. ดำเนินโครงการ ดังนั้นช่วงเริ่มต้น 2-3 เดือนนี้ ต้องติดตามผลการใช้โครงการว่า อัตราอนุมัติการค้ำประกันสินเชื่อมีทิศทางอย่างไร โดยเฉพาะดีมานด์ของตลาด ซึ่งในสิ้นพฤษภาคมนี้ บสย. จะมีการประชุมร่วมกับทั้ง 6 ไฟแนนซ์ เพื่อติดตามผลต่อไป” นายสิทธิกร กล่าว
นายสุวัชร์ ศุภกาญจน์เดชากุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และ นายศรัณย์ ทองธรรมชาติ ประธานกรรมการสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะ และนำเสนอในประเด็นที่ บสย. ยังไม่สามารถค้ำประกันผ่านกลุ่ม Captive Finance หรือ สถาบันการเงินที่ก่อตั้งโดยผู้ผลิตรถยนต์ได้ ซึ่งทั้งสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยและสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทยต้องการให้ปลดล็อกเรื่องนี้โดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ เนื่องจากยอดขายรถกระบะส่วนมากมาจาก กลุ่ม captive finance สูงกว่า 50% ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดสุญญากาศทางสองสมาคมต้องการขอให้กระทรวงการคลังเร่งพิจารณาเรื่องดังกล่าว ซึ่งจากตัวเลขยอดขายรถกระบะในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.2568) ตลาดรถกระบะยังลดลงต่อเนื่อง โดยมียอดขายรวม 40,379 คัน หดตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2567 ถึง 13%
ดังนั้น หากปลดล็อกให้ บสย. สามารถค้ำประกันกลุ่ม captive finance ได้จะส่งผลให้สามารถช่วยผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการรถกระบะเพื่อประกอบธุรกิจ และตลาดรถกระบะกลับมาคึกคักได้อีกครั้ง เนื่องจากดีมานด์ของตลาดรถกระบะยังมีอยู่ ทั้งนี้ ปัจจุบัน บสย. สามารถค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อกับสถาบันการเงิน และกลุ่มลีสซิ่งที่สถาบันการเงินถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 50% ตามประกาศของกระทรวงการคลัง ขณะนี้มี 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด, บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด และ บริษัท ซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ จำกัด
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS