{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ธนาคารออมสินจัดสัมมนา GSB Forum 2023 หัวข้อ ESG : Social Pillar Driven “สังคมยั่งยืน เพื่อโลกที่ยั่งยืน” เปิดเวทีถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนมุมมอง ประสบการณ์การดำเนินกิจการสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยกรอบแนวคิด ESG : Environment-Social-Governance ที่ธนาคารมุ่งเน้นแกนหลักด้านสังคม (Social) โดย นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวเปิดการสัมมนาผ่านวีทีอาร์ ใจความว่า เรื่องความยั่งยืนเป็นความท้าทายสำคัญที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นทุกมิติ โดยได้สร้างกลไกสนับสนุนทั้งด้านกฎระเบียบ มาตรการทางการเงินการคลัง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุน เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน แม้บทสรุปของความยั่งยืนยังไม่อาจวัดผลได้ในปัจจุบัน แต่ด้วย Ecosystem ที่ทุกภาคส่วนได้ร่วมมือกัน ย่อมส่งผลเชิงบวกต่อระบบเศรษฐกิจได้ในอนาคต ณ ห้องฉัตราบอลรูม โรมแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “How Does Social Bank Work on the Journey toward Sustainability?” ว่า ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศ ธนาคารออมสินกำหนดกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ Dual Mission โดยทำธุรกิจธนาคารสร้างผลกำไรมาสนับสนุนการทำภารกิจเพื่อสังคม มุ่งเป้าหมายช่วยแก้ปัญหาความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ข้อ 1 และ 10 ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี ธนาคารเพื่อสังคมได้จัดทำโครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมแล้วกว่า 63 โครงการ ช่วยเหลือประชาชนได้กว่า 17 ล้านคน โดยสนับสนุนการให้สินเชื่อช่วยเสริมสภาพคล่องด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมแก่ลูกค้ารายย่อยกว่า 8.5 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ได้รับโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนในระบบเป็นครั้งแรก จำนวนกว่า 3.2 ล้านคน
ผลสำเร็จดังกล่าว เกิดขึ้นได้ด้วยการกำหนดเป็นนโยบาย Social Mission Integration โดยบูรณาการแนวคิดเพื่อสังคมในกระบวนการดำเนินงานที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยเหลือสังคม (Product) การจัดทำโครงการโดยคำนึงถึงประโยชน์ของสังคม (Project) และการปรับกระบวนการดำเนินงานที่ตอบโจทย์ของสังคม (Process) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วมของธุรกิจและสังคม คือ CSV : Creating Shared Value โดย Michael Porter และ Mark Kramer โดยธนาคารเตรียมเดินหน้าสร้างการเติบโตทางธุรกิจที่สามารถสร้างคุณค่าต่อสังคมอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยการจัดสรรงบประมาณและการลงทุนในกิจกรรมทางธุรกิจของธนาคาร อาทิ การแก้ปัญหาหนี้ลูกค้ารายย่อยอย่างยั่งยืน การขยายผลโครงการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม โดยธนาคารออมสินคาดหวังที่จะสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้หน่วยงานทุกภาคส่วน ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงความสมดุลของการพัฒนาที่ครบทั้ง 3 แกน ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ด้านมิติการพัฒนาสังคมให้เข้มแข็งโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลที่ดีซึ่งเป็นรากฐานของการเติบโตอย่างยั่งยืนที่แท้จริง
ภายในงานสัมมนา ยังได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญและผู้ทรงคุณวุฒิหลายหน่วยงาน มาร่วมแสดงปาฐกถาและความคิดเห็นต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในแกนด้านสังคม อาทิ
Prof. Dr. AKM Saiful Majid ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Grameen Bank ประเทศบังกลาเทศ กล่าวปาฐกถากรณีตัวอย่าง “ธนาคารหมู่บ้าน” ต้นแบบธนาคารเพื่อสังคมและผู้ยากไร้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจนโด่งดังไปทั่วโลก จากการตั้ง Grameen Bank ดำเนินธุรกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลกำไรสูงสุด เพื่อประโยชน์ของคนยากจนโดยช่วยให้คนจนมีสิทธิเข้าถึงสินเชื่อ และดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีตัวชี้วัดความสำเร็จ เช่น การถือครองที่ดิน รายได้ และการจ้างงาน โดยที่ผ่านมาสามารถช่วยเหลือผู้ยากไร้จำนวนกว่า 10 ล้านคนให้หลุดพ้นจากวงจรความยากจน สมาชิกมากกว่า 2 ใน 3 (ประมาณ 10.2 ล้านคน) หลุดพ้นจากวงจรความยากจน
Mr. Renaud Meyer Resident Representative UNDP Thailand กล่าวว่า มิติที่สำคัญของ ESG คือความเท่าเทียม เป็นการทำให้ทุกคนไม่ว่าจะในฐานะอะไรได้เข้าถึงโอกาสการมีส่วนร่วม ซึ่งในมิติของธุรกิจจะเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพขององค์กร ดังนั้นเวลามองมิติการทำธุรกิจ ผนวกมิติความยั่งยืนจะทำให้องค์กรเดินหน้าไปได้อย่างมั่นคงและแข่งขันได้มากขึ้น และสังคมจะอยู่ได้อย่างกลมกลืม ภายใต้เป้าหมายสำคัญ การพัฒนาที่ยั่งยืน จากความร่วมมือกันและส่งพลังให้ก้าวเดินหน้าได้ อีกทั้งต้องทำงานร่วมกันจึงจะบรรลุเป้าหมายได้ ต้องมาพร้อมกับ “การทำงาน พฤติกรรมในองค์กร ปรับฐานคิด” นี่คือสมการใหม่ของการพัฒนาที่ยั่งยืนทางสังคม
หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ความเข้มแข็งของสังคมเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเติบโตของธุรกิจทั้งหมด แต่ปัจจุบันในประเทศไทยฐานะความร่ำรวยกระจุกตัวเพียงบางกลุ่มคน ขณะที่ความยากจนนั้นกระจายไปทั่วประเทศ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ธุรกิจเป็นเครื่องมือในการสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งต้องแก้ไขที่จุดนี้ โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ มีปรัชญา “ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี เพียงแค่เขาไม่มีโอกาสและทางเลือกในการทำในสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น” ดังนั้นมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ จึงให้ความสำคัญเรื่องการให้โอกาส และเป็นการให้ที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมและชุมชนในระยะยาว
ด้าน ดร.เอกพล ณ สงขลา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ให้ความเห็นในฐานะองค์กรธุรกิจ มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน (Collaboration) เป็นปัจจัยความสำเร็จการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเริ่มจากดำเนินการจากจุดเล็กๆ ที่เป็นหน่วยย่อย จะสามารถสร้างแรงกระเพื่อมเกิดความร่วมมือในวงกว้าง ดังแนวคิดของทฤษฎีผีเสื้อกระพือปีกซึ่งเป็นธีมหลักของการจัดสัมมนาครั้งนี้ โดยบริษัทฯ เน้นส่งเสริมให้ชุมชนสามารถยืนได้ด้วยตนเองผ่านโครงการสำคัญ เช่น โครงการประชารัฐรักสามัคคี เป็นต้น
นอกจากนี้ ช่วงบ่ายของการสัมมนาเป็นการเน้นเนื้อหาเข้มข้นในเรื่องการสร้างคุณค่าร่วมของธุรกิจและสังคม หรือ CSV : Creating Shared Value ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิมากหมายหลายท่าน ที่ได้มาบรรยายให้ความรู้และแชร์ไอเดียแนวคิดที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้นำไปต่อยอดการทำแผนธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านแกนด้านสังคม อาทิ นายปิยะชาติ อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BRANDi and Companies ในหัวข้อ The New Competitive and Collaborative Advantages : Creating Shared Value (CSV) Ms. Fiona Stewart และคุณขวัญพัฒน์ สุทธิธรรมกิจ จากธนาคารโลก หรือ World Bank ในหัวข้อ Creating Shared Value : Role of Sustainability-Linked Financing ปิดท้ายด้วยการเสวนาในหัวข้อ CSV Success Stories Well Told โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธนาคารออมสินองค์กรต่างๆ ที่ได้รับประโยชน์เชิงสังคมจากการดำเนินงานของธนาคาร ได้แก่ ผู้แทนจากสถาบันการเงินประชาชน ผู้แทนจากมูลนิธิออทิสติกไทย ผู้แทนนักเรียนจากโครงการธนาคารโรงเรียน และผู้แทนชุมชนในพื้นที่โครงการพัฒนาแบบองค์รวม “ออมสินฮ่วมใจ๋ฮักขุนน่าน” จังหวัดน่าน โดยได้รับเกียรติจาก นางบุญรักษ์ อุดมสิทธิพงศ์ รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เป็นผู้กล่าวปิดท้ายงานสัมมนาด้วยกรณีตัวอย่างความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจธนาคารออมสินที่ยึดหลักการเพื่อช่วยแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS