{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายวัชรชาญ สิริสุวรรณทัศน์ รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมพิธีเปิดศูนย์รวมและกระจายการขนส่งสินค้าเกษตรทางราง ศรีสำราญ และเปิดเดินขบวนรถขนส่งสินค้าเกษตรเที่ยวปฐมฤกษ์ ณ ที่หยุดรถศรีสำราญ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการขนส่งสินค้าทางรางจากเกษตรกร ไปยังศูนย์กระจายสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟสายใต้ โดยมีนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เข้าร่วมพิธี
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 และสภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรประสบปัญหาในการจำหน่ายสินค้าทั้งภายในและต่างประเทศ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟฯ ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร จึงมีนโยบายให้การรถไฟฯ นำระบบขนส่งสินค้าทางราง เข้ามาช่วยเพิ่มทางเลือกในการขนส่งสินค้าเกษตรแก่เกษตรกรและชุมชน โดยร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำการเปิดศูนย์รวมและกระจายการขนส่งสินค้าการเกษตรทางราง พร้อมเปิดเดินขบวนรถขนส่งสินค้าเกษตรเที่ยวปฐมฤกษ์ ที่หยุดรถศรีสำราญ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
“ความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญที่การรถไฟฯ เข้าไปสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถขนส่งสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ด้วยการปรับเปลี่ยนโหมดจากการขนส่งทางถนนมาสู่ระบบราง ซึ่งมีบริษัท ไทยเรล โลจิสติกส์ จำกัด ผู้ประกอบการขนส่งทางรางด้วยตู้สินค้าคอนเทนเนอร์เข้ามาดำเนินการ โดยได้เริ่มเที่ยวปฐมฤกษ์ในการขนส่งสินค้าเกษตร จากศูนย์กระจายสินค้าศรีสำราญ ผ่านเส้นทางรถไฟสายใต้ ไปถึงมือของผู้บริโภคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แบ่งเบาภาระค่าขนส่งแก่เกษตรกร และช่วยลดค่าครองชีพแก่ประชาชนได้เป็นอย่างดี”
โดยการรถไฟฯ เชื่อมั่นว่าการนำระบบขนส่งสินค้าทางรางมาช่วยขนส่งสินค้าเกษตร จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งได้ดียิ่งขึ้น สามารลดต้นทุน ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญยังสามารถเชื่อมโยงผลผลิตทางการเกษตร จากเกษตรกร ผู้ผลิต และตลาดกลางสินค้าเกษตร ไปถึงมือผู้บริโภค ร้านค้า โรงแรม ร้านอาหาร และเครือข่ายตลาดกลาง ได้อย่างรวดเร็ว ตรงต่อเวลา ช่วยบรรเทาผลกระทบในช่วงฤดูกาลที่มีผลผลิตออกมาจำนวนมาก ไม่ให้เกิดปัญหาล้นตลาดได้ อีกทั้งจะช่วยเพิ่มโอกาสการขนส่งสินค้าทางรางของไทย ให้ขยายตัวมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนร้อยละ 1.9 ตลอดจนช่วยเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ให้กับการรถไฟฯ อีกด้วย
นอกจากความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรฯ ในการเปิดเดินขบวนรถขนส่งสินค้าเกษตรครั้งนี้ การรถไฟฯ ยังได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงคมนาคม ในการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีหนองคาย และ CY สถานีนาทา รวมถึง CY ในทุกภูมิภาค ตลอดจนการลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ รถไฟเส้นทางสายใหม่ ที่จะมีการเพิ่มขบวนรถสินค้า ทั้งรถจักร และรถพ่วง เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ ที่สนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS