{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กลุ่มบริษัทจีเอเบิล พัฒนาโซลูชัน Holistic G-Cyber Solution โซลูชันป้องกันภัยไซเบอร์ครบวงจร มีความเข้มแข็ง สามารถป้องกันภัยคุกคามที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทจีเอเบิล เปิดเผยว่า จีเอเบิล ในฐานะผู้นำทางด้าน Cybersecurity ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ พร้อมที่จะเป็นผู้ช่วยองค์กรธุรกิจ และแนะนำ Framework ในการรับมือด้านภัยไซเบอร์ รวมถึงนำเสนอ Holistic
G-Cyber Solution ที่ช่วยป้องกันระบบและข้อมูลขององค์กรธุรกิจจากการโจมตีทางไซเบอร์ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดย Framework ของจีเอเบิลได้ถูกเสนอผ่านมิติความปลอดภัย 3 ขั้นตอนดังนี้
1. Diagnostics คือ การจำกัดวงความเสียหาย แก้ไขได้โดยวิธีเรียบง่าย เช่น Unplug และหาไฟล์ที่หายหรือรั่วไหลให้เจอ
2. Recovery คือ กู้สิ่งที่เสียหายกลับมา ตรวจสอบทั้งส่วนที่ได้รับและไม่ได้รับความเสียหาย และไม่ควรรีบร้อนเกินไป ควรมี Backup ข้อมูล
3. Future Improvement & Plan คือ ทบทวนบทเรียนที่ผิดพลาด และสร้างเกราะป้องกันเพื่ออนาคต
โดยจีเอเบิลแนะนำให้องค์กรคำนึงถึงความโปร่งใสในทุกขั้นตอน รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรควบคู่กันไป
นอกจากความพร้อมในการรับมือกับภัยไซเบอร์แล้ว สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด จีเอเบิลพร้อมนำเสนอ Holistic G-Cyber Solution แผนการป้องกัน เพื่อเข้ามาช่วยให้องค์กรธุรกิจในด้านความปลอดภัย
ทางไซเบอร์ โดยดูแลตั้งแต่ต้นจนจบครบใน 4 ขั้นตอน ดังนี้
Consult: ตรวจสอบช่องโหว่ภายในองค์กร เพื่อให้มีความปลอดภัย และสามารถป้องกัน พร้อมตรวจจับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ได้
Design: ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาช่วยวิเคราะห์ และออกแบบแผนความปลอดภัยให้แต่ละองค์กรโดยเฉพาะ
Implement: ลงมือวางระบบโดยละเอียดด้วยผู้เชี่ยวชาญชั้นสูงในอุตสาหกรรม พร้อมความรู้ที่ครบครัน และมากด้วยประสบการณ์ พร้อมทุกความซับซ้อนของข้อมูล
Operation & Service: ตรวจสอบการทำงานของระบบผ่านการทดลองแฮกจริง และตรวจสอบอุปกรณ์ในองค์
“ปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนโลกยุคใหม่ ส่งผลให้หลายๆ องค์กรต้องมีการปรับตัวเข้าไปสู่โลกดิจิทัลเร็วขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องเผชิญกับภัยไซเบอร์เพิ่มขึ้นทวีคูณเช่นกัน จากผลสำรวจของการ์ทเนอร์พบว่า การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที และคาดมูลค่าความเสียหายจากภัยไซเบอร์ในอนาคตอันใกล้นี้จะสูงถึง 300 ล้านล้านบาท โดยเหล่าแฮกเกอร์สามารถโจมตีได้ในช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติ ไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน นอกจากนี้การทำงานแบบ Work from Anywhere ในช่วงนี้ ยังทำให้เกิดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์มากขึ้นอีกด้วย ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้ทำให้องค์กรธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น ทั้งทางด้านเทคโนโลยี นโยบายและบุคลากร เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วการแก้ไขจะยากและต้องใช้งบประมาณมากกว่าการป้องกันเสมอ” ดร.ชัยยุทธ กล่าวทิ้งท้าย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS