{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
จิตตะ เวลธ์ เผยปี 2564 ลงทุนตั้งแต่ต้นปี มีผลตอบแทนลงทุนในหุ้นรายประเทศพุ่งแรง ด้วยเทคโนโลยีระดับโลก พร้อมปรับพอร์ตอัตโนมัติ โดย Jitta Ranking เวียดนาม ยังครองความเป็นหนึ่งด้วยผลตอบแทน 68.72% มุ่งมั่นพัฒนา AI และออกแบบอัลกอริทึมล่าสุด เฟ้นหา ‘หุ้นดี ราคาเหมาะสม’ ได้แม่นยำยิ่งขึ้น และสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าเดิม
นายตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด (บลจ.) เปิดเผยว่า ในปี 2564 ที่มีการลงทุนตั้งแต่ต้นปี ผลตอบแทนของ Jitta Ranking ลงทุนในหุ้นแต่ละประเทศไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม สหรัฐฯ จีน และไทย สามารถเอาชนะดัชนีตลาดหุ้นประเทศเหล่านั้นได้ ไม่ทำให้นักลงทุนที่ลงทุนกับ จิตตะ เวลธ์ ผิดหวัง โดยสามารถสรุปได้ดังนี้
Jitta Ranking หุ้นเวียดนาม ยังคงสร้างผลงานที่ดีที่สุด ครองความเป็นหนึ่งด้วยผลตอบแทนโตโดดเด่นถึง 68.72% เมื่อเทียบกับผลตอบแทนรวมตลาดหุ้นเวียดนาม (VNTRI) ที่ 37.31% ซึ่งเป็นดัชนีตลาดหุ้นที่ร้อนแรงที่สุดของปี 2564 และเป็นหนึ่งใน 7 ตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งที่สุดในปี 2564 จากปัจจัยพื้นฐานของประเทศที่แข็งแกร่ง การย้ายฐานการผลิตของบริษัทระดับโลก ภาคการส่งออกที่เติบโต และภาคการบริโภคที่ขยายตัว ขณะที่ตลาดหุ้นกำลังทะยาน แม้จะประสบกับโรคระบาด โควิด-19 ระลอกใหม่ แต่ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนาม ทำนิวไฮตลอดทั้งปี 2564
สำหรับแนวโน้มของตลาดหุ้นเวียดนามในปี 2565 นั้น มีแนวโน้มการเติบโตดี ธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจเวียดนามเติบโต 6 - 6.5% อีกทั้งความขัดแย้งและกำแพงภาษีระหว่างสหรัฐฯและจีน ทำให้เวียดนามกลายเป็นแหล่งห่วงโซ่อุปทานทางเลือก ส่งเสริมภาคการส่งออกและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคการผลิตในขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การปรับโครงสร้างตลาดหุ้นเวียดนามจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบ และสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น ที่สำคัญ ตลาดหุ้นเวียดนามอุดมไปด้วยหุ้นดีที่ราคายังไม่แพง เพราะเฉพาะการลงทุนโดยเน้นหุ้นรายตัว สามารถทำกำไรให้กับนักลงทุนได้ในปี 2565 นี้
Jitta Ranking หุ้นสหรัฐฯ ทำผลงานปีที่แล้วได้ 49.99% เทียบกับผลตอบแทนรวมตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P500) ที่ 28.71% บริษัทจดทะเบียนได้รับอานิสงส์จากการเปิดประเทศและความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มมากขึ้นของผู้บริโภค รายได้เติบโต กำไรปรับตัวสูงขึ้น ดันดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั้ง ดัชนี Dow Jones ดัชนี S&P500 และดัชนี Nasdaq ปรับตัวทำสถิติสูงสุดในปี 2564
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปี 2565 นั้น นักลงทุนยังคงกังวลต่อนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ การสิ้นสุดมาตรการ QE ภายในไตรมาสที่ 1 การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 3 ครั้งภายในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อสูงในรอบ 40 ปี ปัญหาคอขวดอุปทานไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ล้วนเป็นปัจจัยกระทบภาพการลงทุนในปี 2565 ดังนั้นการเลือกลงทุนควรเน้นลงทุนหุ้นรายตัว ธุรกิจมีความสามารถทางการแข่งขันสูง มีศักยภาพในการเติบโตและราคายุติธรรม
Jitta Ranking จีน ที่เปิดตัวเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2564 มีผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้ง 6.57% สามารถเอาชนะดัชนีตลาดหุ้นจีน (CSI300) ที่มีผลตอบแทนรวม -3.03% ทั้งๆ ที่ตลาดหุ้นจีน ได้รับแรงกดดันจากการตรวจสอบธุรกิจของรัฐบาลจีน ในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยี รวมไปถึงวิกฤตธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีตลาดหุ้นจีนผันผวน นักลงทุนหลีกเลี่ยงที่จะลงทุน
สำหรับแนวโน้มของตลาดหุ้นจีนปีนี้ ส่งสัญญาณการเติบโตอย่างชัดเจน จากมูลค่าการลงทุนเมกะโปรเจคสูงถึง 3 ล้านล้านหยวน รัฐบาลส่งเสริมการลงทุนในพลังงานสะอาด คาดปริมาณการติดตั้งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์รวม 97 กิกะวัตต์ คิดเป็น 40% ของปริมาณติดตั้งทั่วโลก ฐานะทางการเงินภาคอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่องอย่างมั่นคง ส่งผลให้สถาบันการเงินหลักของโลกหลายแห่ง มีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีนในปี 2565
Jitta Ranking หุ้นไทย ให้ผลตอบแทนปี 2564 เติบโต 38.41% ในขณะที่ผลตอบแทนรวมของตลาดหุ้นไทย (SET TRI) อยู่ที่ 17.67% แม้ว่า ตลาดหุ้นไทยได้รับแรงกดดันจากการระบาดของ โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายนเป็นต้นมา และเศรษฐกิจภายในประเทศจะได้รับผลกระทบหนัก แต่บริษัทที่มีรายได้จากต่างประเทศถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการผลักดันดัชนีตลาดหุ้นไทย มูลค่าการส่งออกไทยตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2564 เพิ่มขึ้น 16.4% แตะระดับ 2.46 แสนล้านดอลลาร์ ภาคการท่องเที่ยวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีจากโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยปี 2565 ยังคงเผชิญกับความผันผวนสูง โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเป็นหนึ่งในปัจจัยหลัก ที่ทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศเกิดการชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและภาคการท่องเที่ยว ในขณะที่ บริษัทที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีการกระจายแหล่งรายได้จากต่างประเทศ มีรายได้จากการส่งออก จะสร้างผลตอบแทนที่ดีในปี 2565
“จะเห็นได้ว่าในปี 2565 ยังมีปัจจัยกดดันตลาดหุ้นในบางประเทศ การลงทุนมีความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา ตลาดหุ้นประกอบด้วยปัจจัยแวดล้อมมากมาย ทั้งที่สามารถคาดเดาได้และคาดเดาไม่ได้ ยังไม่นับภาวะอารมณ์ของนักลงทุนที่ทำให้ดัชนีผันผวนในระยะสั้นๆ ด้วย เราจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการลงทุนอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนระยะสั้น หรือจากอคติและอารมณ์ของนักลงทุน สุดท้ายมูลค่ากิจการและราคาหุ้นระยะยาว จะสะท้อนพื้นฐานของหุ้นที่คุณลงนั่นเอง” นายตราวุทธิ์ กล่าว
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS