{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
YLGย้ำทองคำระยะสั้นราคาผันผวน แต่มีแรงซื้อจากจีน-อินเดียช่วยพยุง
นางสาวฐิภา นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG) เปิดเผยว่า แม้ในระยะสั้นและระยะกลางราคาทองคำในตลาดโลกยังผันผวนและยังเป็นการแกว่งตัวลง แต่อย่างไรก็ตามในระยะยาวปีนี้ยังมองว่าทองคำยังเป็นขาขึ้น โดยที่ผ่านมาพบว่าแม้ราคาทองคำจะปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องนับจากต้นปีเนื่องจากกองทุนทองคำทำการขายต่อเนื่อง ภาพรวมปีนี้นับแต่ต้นปีขายออกมาแล้วมากว่า 127 ตัน แต่เมื่อมีการปรับลดลงมาจะมีแรงซื้อทองคำที่เป็นกายภาพจากผู้ผลิตเครื่องประดับและผู้บริโภคชาวจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นผู้บริโภคทองคำรายใหญ่อันดับ 1 และ 2 ของโลกที่ปกติจะมีการเข้าซื้อรวมกันเกือบ 2,000 ตัน ซึ่งถือเป็นปริมาณค่อนข้างมากเข้ามาพยุงราคาไว้
นอกจากนี้ระยะยาวทองคำยังมีปัจจัยหนุนจากเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ใช้เม็ดเงินจำนวนมาก และอาจจะส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลดีต่อราคาทองคำในระยะยาวเช่นกัน ส่วนประเด็นเรื่องโควิด -19 ที่เริ่มคลี่คลายนั้น ก็เป็นประเด็นทำให้ราคาทองคำในระยะสั้นมีความเสี่ยงแกว่งตัวปรับลดลง ดังนั้นในระยะสั้นยังต้องระมัดระวัง เพราะหากราคาทองคำปรับลดลงต่ำกว่า 24,000 บาทต่อบาททองคำ ราคาทองคำอาจจะเป็นขาลง เพราะสถานการณ์โควิด -19 ก็เริ่มเห็นการคลี่คลายจากการกระจายวัคซีนที่มากขึ้น อย่างไรก็ดีสำหรับนักนักลงทุนที่ถือครองทองคำแนะนำว่าหากราคาทองคำดีดขึ้นไปและไม่ผ่านแถว 26,000 บาทต่อบาททองคำ แนะนำให้ขายทำกำไรออกไปก่อน ส่วนนักลงทุนที่ต้องการเข้าซื้อมองว่าระดับราคา 25,000-24,500 บาทต่อบาททองคำเป็นจุดที่สามารถเข้าซื้อได้
สำหรับการเคลื่อนไหวทางเทคนิคของราคาทองคำนั้น จะยังแกว่งตัวในกรอบแคบๆ ในกรอบแนวต้านที่ 1,760 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หากไม่ผ่านจะมีแรงขายทำกำไรสลับเข้ามา แต่หากสามารถยืนได้ที่ 1,720 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ มีแนวโน้มจะไปทดสอบกรอบแนวต้านอีกครั้ง อย่างไรก็ดี หากหลุด 1,720 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ก็จะมีโอกาสปรับลงมาและมีโอกาสกลับไป 1,700 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และ 1,676 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ตามลำดับ กลับกันหากทะลุผ่าน 1,760 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ทิศทางราคาในระยะสั้นจะเป็นบวกมากขึ้น
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS