พรินซิเพิลเตรียมเสนอขาย IPO กองทุน Principal Global Clean Energy 24 – 30 มี.ค.นี้

บลจ.พรินซิเพิลเตรีมเปิดขาย IPO กองทุน Principal Global Clean Energy ระหว่าง 24 – 30 มี.ค.ชูนโยบายลงทุนใน iShares Global Clean Energy UCITS ETF เป็นกองทุนหลัก

นายจุมพล สายมาลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดตัว ‘กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล คลีน เอ็นเนอร์จี’ หรือ Principal Global Clean Energy (PRINCIPAL GCLEAN) เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) วันที่ 24 – 30 มีนาคม 2564 สั่งซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท โดยเป็นกองทุนรวมตราสารทุน ประเภท Feeder Fund ที่มีนโยบายลงทุนในกองทุนต่างประเทศเป็นกองทุนหลักเพียงกองทุนเดียว เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ เน้นลงทุนในหุ้นบริษัทที่ผู้ผลิตพลังงานสะอาดทุกรูปแบบทั่วโลกและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง เช่น พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานลม, พลังงานน้ำ, พลังงานไฮโดรเจน, พลังงานชีวมวล เป็นต้น

กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล คลีน เอ็นเนอร์จี จะเข้าลงทุนในกองทุน iShares Global Clean Energy UCITS ETF (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน (Share Class) USD (Dist) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม ESG Leader rating กองทุนได้คะแนนจาก MSCI ESG Quality Score ในระดับคะแนน 7.3 จาก 10 คะแนน จัดอยู่ในกลุ่ม ESG Leader (Blackrock, MSCI ESG Rating score, Dec 2020) รวมทั้งกองทุนได้รับ Morningstar 5 ดาวสำหรับระยะเวลา 3 ปีและ 5 ปี (Morningstar Jan 2021)

ทั้งนี้ iShares เป็นผลิตภัณฑ์กองทุนประเภท Exchange-traded-funds (ETFs) ที่มีมูลค่าสินทรัพย์ที่บริหารจัดการสูงที่สุดในโลก ภายใต้การบริหารโดย BlackRock บริษัทจัดการด้านการลงทุนข้ามชาติสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งเมื่อปี 1988 ณ เดือนมกราคม 2021 มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการรวมมูลค่า 8.67 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ

กองทุนดังกล่าวมีผลการดำเนินงานย้อนหลังที่โดดเด่นสร้างผลตอบแทนปี 2020 ที่ 141% และย้อนหลัง 3 ปี 48% ต่อปี (เท่ากันกับดัชนีอ้างอิง S&P Global Clean Energy Index ที่ 141% และย้อนหลัง 3 ปี 48% ต่อปี ตำมลำดับ, ที่มา BlackRock, S&P ,31 Jan 2021) โดดเด่นกว่าหุ้นที่ดำเนินธุรกิจพลังงานแบบดั้งเดิม S&P Energy Index ที่ -34% และ -15% ต่อปี ตามลำดับ (ข้อมูล มกราคม 2021 ที่มา BlackRock, S&P) โดยมีหุ้นกลุ่มพลังงานสะอาดที่เข้าลงทุน อาทิ Meridian Energy ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เช่น พลังงานลม น้ำ แสงอาทิตย์ 100% สัญชาติสวีเดน ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์นิวซีแลนด์และมีรัฐบาลถือหุ้น 51%, CEMIG ผู้ผลิตและจำหน่ายพลังงาน Hydroelectric power รายใหญ่ที่สุดในบราซิลและทวีปอเมริกาใต้, Xinyi Solar ผู้ผลิตกระจกสำหรับแผงโซลาร์เซลล์รายใหญ่ที่สุดในจีนและรายใหญ่ที่สุดของโลกรวมถึงเป็นผู้ดำเนินการโซลาร์ฟาร์ม, Vestas Wind Systems ผู้ออกแบบ ผลิต ติดตั้งและให้บริการพลังงานลมทั่วโลกจากเดนมาร์ก

ทั้งนี้ธีมการลงทุนในพลังงานสะอาด Clean Energy นับเป็นหนึ่งในธีมการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีในปี 2020 ที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญที่หนุนให้ธุรกิจพลังงานสะอาดสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีและมีแนวโน้มจะโตต่อเนื่องไปในอนาคต คือการที่แต่ละประเทศได้ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น โจ ไบเดน ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ เน้นนโยบายที่จะสนับสนุนด้าน Green Energy รวมถึงผู้นำประเทศที่เป็นชาติมหาอำนาจของโลกได้ให้ความสำคัญเป็น Top Agenda หรือวาระสำคัญในการออกข้อบังคับเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจัดทำเป็นโครงการระยะยาวและสนับสนุนธุรกิจหรือบริษัทที่เน้นนวัตกรรมการผลิตพลังานสะอาดในทุกด้าน

โดยได้รับแรงผลักดันจาก 4 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย 1.Regulatory force หรือนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนพลังงานสะอาด 2.Technological Force การลงทุนด้านพลังงานสะอาดที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับจากปี 2000 ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น 3.Economic Force ต้นทุนการผลิตพลังงานสะอาดที่ลดลงต่ำกว่าต้นทุนการผลิตพลังงานแบบดั้งเดิม เช่น การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนลดลงกว่า 52% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และ 4.Societal Force ความกังวลต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของผู้คนทั่วโลก จึงเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง ที่ยังอยู่ในช่วงแรกของการเติบโตและเป็นหนึ่งในธีมการลงทุนที่น่าสนใจจากโอกาสขยายตัวอย่างก้าวกระโดดในอนาคต


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment