เมย์แบงก์ กิมเอ็งวิเคราะห์ผลต่อตลาดหุ้นไทยหากปรับลดขนาด QE

เมย์แบงก์ กิมเอ็ง กรุ๊ป ประเมินตลาดหุ้น กำหนดกลยุทธ์ หากเกิดการส่งสัญญาณปรับลดขนาด QE

นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) สรุปมุมมองจากงานสัมมนา Captains Speak: Capital Flows & Taper Tantrums เศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นเร็วกว่าคาด Bond Yield พุ่ง ถึงเวลาที่ Fed จะไถ่ถอน QE แล้วหรือยัง? และผลกระทบมากขนาดไหน? จัดโดย เมย์แบงก์ กิมเอ็ง กรุ๊ป

ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจสหรัฐฯมีสัญญาณการฟื้นตัวที่เร็วกว่าคาดทั้งภาคการผลิต การบริโภค หนุนให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) อายุ 10 เร่งตัวจากระดับต่ำกว่า 1% ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำจุดสูงสุดเหนือระดับ 1.6% ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดแรงเทขายตลาดพันธบัตร Asean ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้นเช่นกัน ฟิลิปปินส์ (+86bps) อินโดนีเซีย (+64bps) ไทย (+60bps) และ มาเลเซีย (+47bps)

สิ่งที่เกิดขึ้นเริ่มสร้างความกังวลต่อโอกาสการถอดถอนนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ (ลดขนาด QE หรือ QE Tapering) ของสหรัฐฯ ซึ่งข้อมูลจาก Bloomberg Consensus ล่าสุดให้น้ำหนักว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 1Q22 หลังจากนั้นจะตามมาด้วยการทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายหลังปี 2023 เป็นต้นไป ซึ่งหากเปรียบเทียบกับกรอบระยะเวลาการถอดถอน QE 3 ในช่วงปี 2013 จะพบว่า ครั้งนั้นประธาน Fed ส่งสัญญาณล่วงหน้าก่อนการทยอยลดขนาดประมาณ 6 เดือน (ส่งสัญญาณครั้งแรกเมื่อ 22 พ.ค. 2013 และเริ่มลดขนาดจริง 18 ธ.ค. 2013)

ทั้งนี้หากประเมินในแง่ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตลาดหุ้นไทย พบว่า ณ วันที่ Fed เริ่มส่งสัญญาณลดขนาดการทำ QE 3 เป็นวันที่ SET Index ทำจุดสูงสุดของรอบที่ระดับดัชนีแตะ 1650 จุด และเริ่มเข้าสู่รอบขาลงหลังจากนั้น จนกระทั่งต้นปี 2014 หลัง Fed เริ่มลดการซื้อพันธบัตรจริง ดัชนีจบรอบขาลงทำจุดต่ำสุดที่ระดับประมาณ 1205จุด และเริ่มฟื้นตัว สะท้อนภาพตลาดหุ้นไทยที่เล่นบน “ความคาดหวัง หรือ Expectation” ทั้งด้านบวกและด้านลบ และจบเมื่อความจริงปรากฏ (Buy on Fact) ซึ่งสามารถนำมาเป็นจุดกำหนดกลยุทธ์หากเกิดการส่งสัญญาณปรับลดขนาด QE รอบนี้ได้เช่นเดียวกัน นั่นคือ ทยอยลดพอร์ตการลงทุน ล็อคกำไร เมื่อ Fed ส่งสัญญาณ และรอจังหวะซื้อกลับหลังจากนั้น อย่างไรก็ตาม QE Tapering ครั้งนี้หากเกิดขึ้นจริงในช่วงปี 2022 จะมีความแตกต่างอยู่หลายประการเมื่อเทียบกับ QE Tapering ที่เกิดขึ้นในปี 2013 ดังนี้

Fund Flow ไม่ได้ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทย รวมถึงภูมิภาค Asean มากเท่ากับการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ผ่านมา (ปี 2020 Fund flow ขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 8,287 ล้านเหรียญฯ ต่างกับปี 2012 ที่ซื้อสุทธิ 2,504 ล้านเหรียญฯ)

ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งกว่าครั้งที่ผ่านมา (ใน 2Q13 อยู่ที่ -2.1% ของ GDP ในขณะที่ 4Q20 อยู่ที่ระดับ -0.8% ของ GDP)

อัตราเงินเฟ้อ ยังไม่ได้เร่งตัวสูงมากเหมือนครั้งที่ผ่านมา (คาดการณ์เงินเฟ้อปี 2021-2022 ของไทยอยู่ที่ระดับ 0.8% – 1.2% เทียบกับช่วงปี 2012 – 2014 ที่อย่ที่ระดับ 1.9% – 3.1%)

ดังนั้น จากเหตุผลดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Fund flow ที่ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยช่วงที่สหรัฐฯกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยสำคัญจำกัดการไหลออกของ Fund flow หลังการถอดถอนมาตรการผ่อนคลายของสหรัฐฯได้ และทำให้ตลาดหุ้นไทยรอบนี้แม้จะเลี่ยงยากที่จะโดนผลกระทบเชิงลบ แต่จะไม่รุนแรงเหมือน QE Tapering ครั้งที่ผ่านมา


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment