{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
วันที่ 2 ธันวาคม 2518 วันที่กลุ่มคอมมิวนิสต์หรือขบวนการประเทดลาวที่นำโดยเจ้าสุภานุวงศ์ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและคอมมิวนิสต์เวียดนาม ได้ล้มล้างรัฐบาลราชาธิปไตยในกรุงเวียงจันทน์ และสถาปนาประเทศลาวเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และในวันเดียวกันนี้ในปี 2496 เป็นวันที่ลาวได้ประกาศเป็นเอกราชต่อฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์อีกด้วย สปป.ลาว จึงกำหนดให้ทุกวันที่ 2 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันชาติ
สปป.ลาว หรือชื่อเต็มว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People's Democratic Republic) ประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ที่ตั้งภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ภาษา และศาสนา มีอาณาเขตติดต่อกับไทยทั้งทางบกและทางน้ำราว 1,800 กิโลเมตร หรือใน 11 จังหวัด มีขนาดพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย มีนครหลวงเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงที่ห่างจากชายแดนไทยทางจังหวัดหนองคายเพียง 25 กิโลเมตรเท่านั้น
ปัจจุบัน สปป.ลาว มีระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยที่มีพรรคประชาชนปฏิวัติเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ มีประชากรราว 7 ล้านคน ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์กว่า 60 กลุ่ม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้
ลาวลุ่ม คือชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบลุ่มตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ ในแขวงหลวงพระบาง เวียงจันทร์ ท่าแขก สะหวันนะเขต และจำปาสัก ได้แก่ ไทลาว ภูไท ไทดำ ไทแดง ไทขาว ไทยลื้อ ลาวพวน เป็นต้น ชาวลาวกลุ่มนี้คิดเป็นร้อยละ 68 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ
ลาวเทิง คือชาวลาวที่มีเชื้อสายมอญ-เขมร บางส่วนอาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เช่น แขวงจำปาสัก แขวงเซกอง แขวงอัตตะปือ ชาวลาวกลุ่มนี้คิดเป็นร้อยละ 22 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
ลาวสูง อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูงในเขตภาคเหนือและตามแนวพรมแดนซึ่งติดกับจีน ไทย เมียนมา และเวียดนาม เช่น แขวงหลวงน้ำทา แขวงเชียงขวาง แขวงซำเหนือ (หัวพัน) แขวงพงสาลี แขวงบ่อแก้ว ได้แก่ ม้ง เย้า มูเซอ อาข่า ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
แม้ สปป.ลาว จะเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลหรือแลนด์ล็อก (Land Lock) แต่เรื่องนี้ไม่ได้เป็นปัญหาในการพัฒนาประเทศ หากมองทางด้านภูมิศาสตร์ สปป.ลาวนั้นรายล้อมไปด้วย “ทะเลคน” คือ มีพื้นที่ติดกับประเทศอื่นๆ ถึง 5 ประเทศทั้ง จีน เมียนมา เวียดนาม ไทย และกัมพูชา ที่มีเสถียรภาพทางการเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง นี่จึงเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้ สปป.ลาว มุ่งไปสู่การเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงเส้นทางของภูมิภาค หรือแลนด์ลิงก์ (Land Link)
ขณะเดียวกัน สปป.ลาว ยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุ และป่าไม้ มีแม่น้ำโขงไหลผ่านจากเหนือถึงใต้ประมาณ 1,800 กิโลเมตร รวมถึงยังมีลำน้ำสายต่างๆ ไหลลงสู่แม่น้ำโขงอีก 13 สาย รัฐบาล สปป.ลาว จึงได้พัฒนาให้เป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า โดยกำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์การเป็นแบตเตอรี่ของเอเชีย (Battery of Asia) ภายในปี 2563 ด้วยปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้า 2 หมื่นเมกะวัตต์ต่อปี ซึ่งธุรกิจเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ หรือพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ธุรกิจบริการ การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว
ขอขอบคุณข้อมูล
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS