ป.ป.ช.รับเรื่อง ตรวจสอบเลขาฯอย.กับพวก ผิดม.157ละเว้น”เรนเจอร์ สเก้าท์”

หลังจากนายเกษมสันต์ วีระกุล นักวิชาการอิสระ ได้เปิดเผยข้อมูลและดำเนินการตรวจสอบกรณียากันยุง เรนเจอร์ สเก้าท์ จนคณะกรรมการอาหารและยา ได้ประกาศเพิกถอนทะเบียนผลิตภัณฑยากันยุง เรนเจอร์ สเก้าท์ เลขที่ 537/2555 ใบอนุญาตนำเข้าวัตถุอันตรายเลขที่ 126/2555 ใบอนุญานำเข้าวัตถุอันตรายเลขที่ 8/2558 โดยบริษัท ธนัทกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561

ล่าสุด วันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 นายเกษมสันต์ วีระกุล ได้เดินทางไปที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เพื่อยื่นหนังสือต่อประธานกรรมการ ป.ป.ช. ให้มีการสอบสวนลงโทษ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กับพวก ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 กรณียาจุดกันยุง เรนเจอร์ สเก้าท์ โดยมี พ.ต.อ.ณรงค์ ยิ้มเจริญ เลขานุการประธานกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้รับหนังสือ

นายเกษมสันต์ ได้กล่าวว่า ในฐานะประชาชนที่เฝ้าติดตามและเสนอข้อมูลผ่านสื่อในเรื่องดังกล่าวมาตลอด ได้พบถึงความไม่ชอบมาพากลในการปฎิบัติหน้าที่ของ เลขาธิการ อย.กับพวก คือ

1. อย. ตรวจพบว่ายาจุดกันยุง เรนเจอร์ สเก้าท์ ใส่สารไม่ตรงกับการจดทะเบียน ตั้งแต่ปี 2558 - 2561 ไม่พบ d-Allethrin พบ Meperfluthrin และต่อมาพบ Heptaflutrin แบบเดียวกับที่เจอใน ก็อตซิล่า แต่ อย.ดำเนินคดีทางกฎหมาย เพียงครั้งเดียว (2558) ที่เหลือยังไม่มีการดำเนินคดีตามกฎหมาย

2. อย.ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ปล่อยให้มีการนำเข้ามาอีกนับครั้งไม่ถ้วน ตามกฎหมาย อย. โดยด่านอาหารและยา ต้อง “กัก” สินค้าที่นำเข้าเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ถ้าผลวิเคราะห์ตรงกับที่จดทะเบียน จึงค่อยอนุญาตให้นำเข้า ( มีการเก็บตัวอย่างตรวจครั้งเดียวคือ 25 พ.ค. 2560 ไม่พบ d-Allethrin ที่ขึ้นทะเบียน แต่พบ Meperfluthrin ซึ่งไม่ขึ้นทะเบียน)

3. อย.อนุมัติให้บริษัทขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายใหม่ในชื่อ เรนเจอร์ สเก้าท์ที อย่างรวดเร็ว มีเลศนัย ด่านอาหารและยาไม่เคยมีการเก็บตัวอย่าง ส่งตรวจวิเคราะห์ เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

4. เมื่อข้อมูลถูกเปิดเผย อย.ก็ยังรอจนคณะกรรมการวัตถุอันตราย (8 ส.ค.61) มีมติให้ อย.เพิกถอนทะเบียนและใบอนุญาต ทั้งๆที่เป็นอำนาจตนเองทำได้อยู่แล้ว

5. อย. ยังเอื้อประโยชน์กับ เรนเจอร์ เสก้าท์ ด้วยการใช้กฎหมายผิดมาตรา อย.ต้องใช้ พรบ.วัตถุอันตรายมาตรา 52 วรรค 2 3 และ 4 เท่านั้นคือ เอกชนต้องส่งมอบผลิตภัณฑ์ ให้ อย.เพื่อการทำลาย ใครครอบครองแล้วเสียหายให้ฟ้องผู้นำเข้าได้ แต่ อย. กลับใช้อำนาจตาม พรบ.วัตถุอันตราย มาตรา 52 วรรค 1 ให้ผู้นำเข้าส่งคืนผลิตภัณฑ์คืนผู้ผลิตภายใน 6 เดือน เป็นการออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยังสั่งให้ผู้ครอบครอง และร้านค้าขายคืนผู้นำเข้า เพื่อให้ส่งคืนผู้ผลิต ซึ่งในทางปฏิบัติควบคุมไม่ได้ เราจึงเห็นมีการวางขายเหมือนไม่เกิดอะไรขึ้น เท่ากับว่า อย.ออกคำสั่งโดยไม่มีกฎหมายรองรับ และเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน

สุดท้าย อย. ยังปล่อยให้มีการโฆษณายาจุดกันยุง เรนเจอร์ สเก้าท์ ตามปกติ ทำให้เกิดข้อสงสัยถึงความไม่ชอบมาพากล จึงได้ทำหนังสือเพื่อขอให้ทาง ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบและเอาผิดเลขาฯ อย.กับพวกในการละเว้นการปฏิบัติหน้าดังกล่าว


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment