{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
จากปัญหาความอดอยากหิวโหยและขาดแคลนอาหารภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ประเทศต่างๆ 44 ประเทศ ร่วมกันจัดตั้งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ขึ้น เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2488
จากนั้นในปี 2522 ในการประชุมทั่วไปของรัฐสมาชิกขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ คณะผู้แทนฮังการี นำโดยอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและอาหารของฮังการี ได้เสนอแนวคิดในการเฉลิมฉลองวันอาหารโลกทั่วโลก และมีมติกำหนดให้วันที่ 16 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันอาหารโลก เพื่อกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ มีจิตสำนึกเรื่องอาหาร และเสริมสร้างความสมานฉันท์ระดับชาติและนานาชาติเพื่อต่อสู้กับความอดอยากหิวโหย ภาวะขาดสารอาหารและความยากจน
ข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ระบุ แม้โลกจะผลิตอาหารเพียงพอสำหรับทุกคน แต่ทุกวันนี้ประชากรโลกราว 281 ล้านคนยังต้องเผชิญกับความหิวโหย โดย 60% ในจำนวนผู้หิวโหยนั้นเป็นผู้หญิง และแม้ว่าจะมีผู้ประสบกับความหิวโหยเป็นจำนวนมาก แต่ประชากรโลกกว่า 1,900 ล้านคนยังประสบภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่ง 672 ล้านคนในจำนวนนั้นเป็นโรคอ้วนพุงพลุ้ย โดยแต่ละปี จะมีประชากรราว 3.4 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน
เช่นเดียวกัน ในขณะที่เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 151 ล้านคนทั่วโลกมีภาวะแคระแกร็นจากการขาดสารอาหาร เด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกินยังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนี้ ยังพบว่า 45% ของทารกที่เสียชีวิตทั่วโลก มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับภาวะการขาดสารอาหาร
วันอาหารโลกปีนี้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติจึงได้ตั้งเป้าหมายให้ประชากรโลกปราศจากภาวะความหิวโหยให้ได้ภายในปี 2573 ภายใต้แคมเปญ A #ZeroHunger World by 2030 is possible #WFD2018
ขอขอบคุณข้อมูล
http://www.fao.org/world-food-day/2018
http://www.fao.org/asiapacific/events/detail-events/en/c/1491/
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS