{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ฝ่ายมาตรฐานบริการการเดินอากาศ ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลบริการการเดินอากาศ ด้านการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (SAR) จัดการประชุมความร่วมมือเพื่อพัฒนาการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยของประเทศไทยสู่มาตรฐาน ณ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการ กรุงเทพมหานคร โดยมีพลอากาศเอก มนัท ชวนะประยูร ผู้อำนวยการ CAAT เป็นประธานการประชุม
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสื่อสาร สร้างความรู้ความเข้าใจในผลการดำเนินงานเชิงเทคนิคด้าน SAR ตามรายการเอกสารที่เป็นเอกสารหลักสำคัญในการให้บริการ SAR ของประเทศ เพื่อให้หน่วยงานในระบบการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติมของประเทศไทย อาทิ สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย (สกชย.) กองทัพเรือ (ทร.) กองทัพอากาศ (ทอ.) กองบัญชาการกองทัพไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) กรมท่าอากาศยาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรมเจ้าท่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข กรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน และกรมอุตุนิยมวิทยา รับทราบและเตรียมความพร้อมนำไปปฏิบัติ ดังนี้
1. ร่างแผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ (National SAR Plan) (ดำเนินการแล้วระหว่างวันที่ 10 - 14 มี.ค. 68)
2. ร่างแผนปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือฯ (SAR Plans of Operation) (ดำเนินการแล้วระหว่างวันที่ 19 - 21 มี.ค. 68)
3. ร่างคู่มือการฝึกอบรมและการซ้อมค้นหาและช่วยเหลือฯ (SAR Training and Exercise Manual) ดำเนินการแล้วระหว่างวันที่ 8 - 10 เม.ย. 68)
ภายในการประชุม ผู้แทนจากแต่ละหน่วยงานได้แลกเปลี่ยนข้อมูล และหารือแนวทางการเตรียมความพร้อม การปรับปรุงระบบการแจ้งเตือน การประสานงานระหว่างหน่วยงาน การจัดสรรทรัพยากร และการฝึกซ้อมร่วม เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินทางอากาศได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
พลอากาศเอก มนัทฯ เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือแบบบูรณาการในระดับชาติ เพื่อสร้างระบบ SAR ที่เข้มแข็ง ทันสมัย และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล พร้อมทั้งแสดงความเชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการยกระดับความปลอดภัยด้านการบินของประเทศไทยอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการตรวจสอบจาก ICAO (International Civil Aviation Organization) ในด้าน SAR ตามโปรแกรม USOAP CMA (Universal Safety Oversight Audit Programme Continuous Monitoring Approach) ในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ และสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย (สกชย.) ในฐานะผู้ให้บริการการเดินอากาศ ด้านการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยของประเทศไทย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS