{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration) หรือ FAA ประกาศผ่านเว็บไซต์ (https://www.faa.gov/about/initiatives/iasa/iasa-program-results) ปรับระดับมาตรฐานการบินของไทย จาก Category 2 (CAT2) ยกระดับกลับไปสู่ Category 1 (CAT1) เป็นกลุ่มประเทศที่มีมาตรฐานการบินอยู่ในระดับมาตรฐานสากล ซึ่งจากการที่ FAA เข้ามาตรวจประเมินที่ CAAT ตั้งแต่ช่วงพฤศจิกายน 2567 และได้แจ้งให้แก้ไขข้อบกพร่อง (Findings) ทั้งหมด 36 ข้อ โดย CAAT ได้ทำงานกันอย่างเต็มที่ ในการปรับปรุงข้อกำหนด รวมถึงประสานหน่วยงานด้านการบินทุกภาคส่วน เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว
จนนำมาสู่การตรวจประเมินขั้นสุดท้าย เมื่อวันที่ 10-12 มีนาคม ที่ผ่านมา
โดยเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2568 พลอากาศเอก มนัท ชวนะประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT และ Mr. Dennis Hill รักษาการผู้อำนวยการ สำนักความปลอดภัยการขนส่งทางอากาศ FAA (Acting Director, Office of Air Carrier Safety Assurance) ได้ลงนามในรายงานสรุปการตรวจประเมินขั้นสุดท้าย (Record of Discussion) ซึ่งเป็นรายงานการแก้ไขข้อบกพร่องของ CAAT จากการตรวจประเมินของ FAA โดยไทยสามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ทุกข้อ ทำให้ไทยผ่านการตรวจสอบด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยการบินพลเรือนจาก FAA ภายใต้โครงการตรวจสอบการกำกับดูแลด้านการบินระหว่างประเทศ (International Aviation Safety Assessment – IASA) และได้รับการยกระดับสถานะกลับคืนสู่ Category 1 (CAT1)
พลอากาศเอก มนัทฯ กล่าวว่า ความสำเร็จในครั้งนี้เป็นผลจากความมุ่งมั่นและการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมการบินของไทย ซึ่ง CAAT ไม่ได้มองบทบาทของตัวเองเพียงในฐานะ "ผู้กำกับดูแล" (Regulator) เท่านั้น แต่ยังตั้งเป้าจะทำหน้าที่เป็น "ผู้สนับสนุน" (Facilitator) ที่ช่วยผลักดันและส่งเสริมให้สายการบินและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการบินไทยสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด การกลับคืนสู่ CAT1 ไม่เพียงเป็นการคืนศักยภาพให้กับการบินไทยในตลาดโลก แต่ยังตอกย้ำถึงความตั้งใจของไทยในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินให้เติบโตอย่างยั่งยืนและยืนหยัดอยู่ในแนวหน้าของภูมิภาค
ผู้อำนวยการ CAAT ระบุว่า หลังไทยได้รับสถานะ CAT1 แล้ว CAAT ต้องดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อรองรับการทำการบินเข้าสหรัฐอเมริกา ได้แก่
1. การทบทวน Open Sky Agreement ซึ่งเป็นงานทางด้านเศรษฐกิจ และอาจจะเป็นการหารือในส่วนของกระทรวงคมนาคมของทั้งสองประเทศ
2. การเข้ารับการตรวจสอบ IASA ซึ่งเป็นการดำเนินงานที่ CAAT ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และ CAAT ต้องรักษามาตรฐานการกำกับดูแลให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล
3. การประสานงานกับ Transportation Security Administration: TSA (หน่วยงานรักษาความปลอดภัยด้านการขนส่งของสหรัฐอเมริกา) โดย CAAT และ TSA ร่วมกันทำ Assessment ซึ่งมีการดำเนินร่วมกันเป็นประจำ และในปี 2568 มีกำหนดดำเนินการในช่วงไตรมาสที่ 2-3
นอกจากความสำเร็จในการกลับคืนสู่ FAA CAT1 แล้ว ในปีนี้ CAAT ยังมีภารกิจในการรับการตรวจสอบ จาก ICAO ในโครงการตรวจสอบการกำกับดูแลความปลอดภัยสากล (Universal Safety Oversight Audit Programme – Continuous Monitoring Approach: USOAP CMA) ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน
โดยเป็นการประเมินว่าประเทศไทยได้นำองค์ประกอบที่สำคัญ (Critical Element: CE) ของระบบการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลการประเมินจะอยู่ในรูปแบบของค่า Effective Implementation (EI Score)
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS