{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ธนาคารไทยเครดิต (CREDIT) ประกาศผลกำไรสุทธิประจำไตรมาสแรกของปี 2568 อยู่ที่ 903.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลดลงของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ที่ร้อยละ 42.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการบริหารจัดการปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวังของธนาคาร การออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ต่อเนื่อง และการเพิ่มจำนวนพนักงานเก็บเงินและเร่งรัดหนี้สินอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คุณภาพของสินทรัพย์ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม NPL Coverage Ratio ยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 150.7 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต สอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินงานที่ยังมุ่งเน้นความระมัดระวัง
ถึงแม้ว่าประเทศไทยเผชิญกับนโยบายการปรับเพิ่มภาษีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และเหตุการณ์แผ่นดินไหวในช่วงปลายไตรมาส 1 ปี 2568 ธนาคารยังสามารถรักษาการเติบโตของกำไรได้ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง และการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ ยอดเงินให้สินเชื่อรวมอยู่ที่ 165,889.6 ล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2568 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากปีก่อน นอกจากนี้ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ตามการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อ ในขณะเดียวกัน ธนาคารยังสามารถควบคุมคุณภาพของสินทรัพย์จากการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคงอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (Gross NPLs ratio) ที่ร้อยละ 4.4 ขณะที่อัตราส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin: NIM) ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 7.9 สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธนาคาร
นายรอยย์ ออกุสตินัส กุนารา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) หรือ CREDIT เปิดเผยว่า “แม้จะอยู่ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ ธนาคารไทยเครดิตยังคงดำเนินกลยุทธ์ที่เน้นความรอบคอบและมีวินัยทางการเงิน โดยให้ความสำคัญกับการบริหารคุณภาพของสินเชื่ออย่างเข้มงวด พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่นสูง ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในสภาพแวดล้อมแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารสามารถรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน”
นอกจากนี้ ในปี 2568 ธนาคารไทยเครดิตได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ภายใต้ชื่อ “SME กล้าสู้” โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการไมโครเอสเอ็มอี ให้สามารถก้าวข้ามอุปสรรคและความท้าทายทางธุรกิจได้อย่างมั่นใจและมีความมั่นคง สอดคล้องกับจุดยืนของธนาคารที่พร้อมยืนหยัดเคียงข้างผู้ประกอบการในทุกช่วงเวลา (“STANDBY เคียงข้าง SME ทุกช่วงเวลา”) สินเชื่อ “SME กล้าสู้” ถือเป็นครั้งแรกที่ธนาคารนำโมเดลการพิจารณาสินเชื่อแบบอิงความเสี่ยง (Risk-based Pricing) มาใช้กับกลุ่มลูกค้าไมโครเอสเอ็มอี ที่มีความยืดหยุ่น สามารถคำนวณอัตราดอกเบี้ยตามระดับความเสี่ยงของผู้ประกอบการแต่ละราย ซึ่งช่วยให้ลูกค้าได้รับเงื่อนไขสินเชื่อที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ธนาคารยังคงเดินหน้าผลักดัน “สินเชื่อเถ้าแก่ใหญ่” อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มทุนหมุนเวียนและเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย สามารถต่อยอดกิจการเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว รองรับความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS