{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
“มนพ”รมช.คมนาคม สั่งคุมเข้มแก้ฝุ่น PM 2.5 - ตั้งตรวจควันดำรถบรรทุก เข้า - ออกท่าเรือกรุงเทพ เดินหน้าโปรเจกต์หนุนใช้พลังงานสะอาดลดคาร์บอน
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้าปฏิบัติการตามมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ทวีความรุนแรงและยังเป็นที่น่ากังวล โดยกระทรวงคมนาคมจะบูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ตามนโยบาย "ราชรถยิ้ม" พร้อมชื่นชมการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ที่ขานรับนโยบายลดฝุ่นและดำเนินมาตรการคุมเข้มตรวจวัดควันดำจากยานพาหนะที่ผ่านเข้า - ออก ท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) ร่วมกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) อย่างเคร่งครัด พร้อมยกระดับมาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม
โดยการดำเนินการแก้ไขฝุ่น PM 2.5 ของกระทรวงคมนาคม แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว โดยขณะนี้อยู่ในระยะเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการ อาทิ มาตรการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ การตรวจสภาพรถ และมาตรการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน ฯลฯ จึงสั่งการให้ กทท. คุมเข้มตรวจวัดควันดำยานพาหนะและรถบรรทุกสินค้าที่ผ่านเข้า - ออกพื้นที่ ทกท. อย่างเคร่งครัด และขอความร่วมมือผู้ประกอบการและผู้ขับรถบรรทุกให้ดูแลเครื่องยนต์ไม่ให้มีค่าควันดำเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด หากพบมีค่าควันดำเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการพ่นข้อความห้ามใช้ทันที และให้ผู้ขับรถนำรถไปแก้ไขจึงจะสามารถนำรถมาใช้งานได้
นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ กทท. กล่าวว่า กทท. ยกระดับการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ปัจจุบันยังคงส่งผลกระทบต่อประชาชน โดยหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน คือ การประสานความร่วมมือกับกรมการขนส่งทางบกทำการตรวจสอบควันดำรถบรรทุกที่เข้ามาขนถ่ายสินค้าในเขต ทกท. รวมถึงเครื่องมือทุ่นแรงต่างๆ ที่ใช้ในกิจการ กทท. เช่น รถหัวลาก รถยกตู้สินค้า รถบรรทุก รถปั้นจั่น รวมถึงรถส่วนตัวของพนักงาน ผู้ใช้บริการและผู้ประกอบการจะต้องตรวจสภาพให้ผ่านเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดจึงจะสามารถผ่านเข้า-ออกพื้นที่ ทกท. ได้ นอกจากนี้ กทท. ได้ออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจาก PM 2.5 ในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
1. รณรงค์ดับเครื่องยนต์รถเครื่องมือทุ่นแรง เมื่อไม่ได้ใช้งาน
2. เฝ้าระวังสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองประจำวันจากกรมควบคุมมลพิษ
3. สุ่มตรวจวัดควันดำของรถบรรทุกที่ผ่านเข้า-ออก ทกท. เป็นประจำทุกเดือน โดยรถบรรทุกที่มีค่าควันดำเกินค่ามาตรฐานฯ ทกท. จะให้เอกสารข้อแนะนำในการปรับปรุงและดูแลรักษาเครื่องยนต์ เพื่อให้ ค่าควันดำเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานฯ
4. ตรวจสภาพรถยนต์และรถเครื่องมือทุ่นแรงที่ใช้ในกิจการของ กทท. อย่างสม่ำเสมอ พร้อมตรวจสอบมลพิษทางอากาศและเสียงจากรถ
5. ใช้รถดูดฝุ่นปฏิบัติงานดูดฝุ่นบริเวณท่าเรือกรุงเทพและบริเวณโดยรอบ
6. ฉีดละอองน้ำแรงดันสูงในแหล่งกำเนิดฝุ่น และใช้รถดับเพลิงฉีดละอองน้ำล้างทำความสะอาดพื้นและถนน เพื่อควบคุมฝุ่นละอองที่เกิดจากยานพาหนะที่อยู่ในพื้นที่
นอกจากนี้ กทท. ยังมีแผนพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมโดยการนำพลังงานสะอาดมาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก้าวสู่การเป็นท่าเรือสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนคลังสินค้าท่าเรือกรุงเทพ และอาคารที่จอดรถของอาคารสำนักงาน กทท. เปลี่ยนเครื่องมือทุ่นแรงในการปฏิบัติงานขนถ่ายสินค้าเป็นรถพลังงานไฟฟ้าแทนน้ำมันดีเซล การลดใช้น้ำมันในเรือลากจูง การออกใบเสร็จคาร์บอน (e -Carbon Receipt) การใช้งานรถ EV ในกิจการของ กทท. การจัดการขยะจากท่าเรืออย่างเป็นระบบ และการนำระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยี AI เขามาช่วยปฏิบัติงาน ตลอดจนการปลูกป่าโดยรอบพื้นที่ท่าเรือทั้ง 5 แห่ง เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สนับสนุนสังคมคาร์บอนต่ำสู่การเติบโตทางธุรกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมกันต่อไป
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS