{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2025 ตามเวลาสหรัฐอเมริกา ทรัมป์ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา ในวันแรกของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 47 ได้ลงนามในคำสั่งออก Executive Order หลายฉบับที่สำคัญ ได้แก่·
คำสั่ง Executive Orders เป็นคำแถลงเกี่ยวกับวิธีการบริหารจัดการรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ มีลักษณะทางกฎหมายและการปฏิบัติการ และต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายที่ผ่านโดยสภาคองเกรสแห่งสหรัฐฯ หรือภายใต้รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา
สหรัฐฯ จะถอนตัวจากข้อตกลงปารีส: ภายใต้นโยบาย ‘Putting America First in International Environmental Agreements’[1] สหรัฐฯ จะถอนตัวออกจากกรอบความร่วมมือของสหประชาชาติเพื่อลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ให้น้อยกว่า 2 องศาเซลเซียส ซึ่งคล้ายกับสิ่งที่ทรัมป์เคยทำในปี 2017 และถูก Biden ยกเลิกในปี 2021 อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า จะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากข้อตกลงปารีสไม่ได้ผูกมัดสหรัฐฯ · ยกเลิก “Electric Vehicle Mandate” ของ Biden: ภายใต้นโยบาย ‘Unleashing American Energy’ ข้อ 2.(e)[2] สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) จะยกเลิกกฎที่กำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องเริ่มลดการปล่อยมลพิษของรถยนต์ขนาดเล็กลงครึ่งหนึ่งตั้งแต่ปี 2027 รวมถึงอาจยกเลิกเครดิตภาษีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าด้วย
· สหรัฐฯ จะเริ่มขุดเจาะหา LGN และน้ำมันเบนซินเพิ่ม: ภายใต้นโยบาย ‘Declaring a National Energy Emergency’[3] และ ‘Unleashing Alaska’s Extraordinary Resource Potential [4] สหรัฐฯ จะเริ่มขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเบนซินอีกครั้ง โดยทรัมป์ได้ยกเว้นกฎด้านสิ่งแวดล้อมหลายข้อที่จำกัดการขุดเจาะ และยังสั่งให้หน่วยงานของรัฐสนับสนุนการขุดเจาะอย่างจริงจัง โดยปัจจุบันสหรัฐฯ เป็นผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลวและน้ำมันเบนซินรายใหญ่ที่สุดของโลก
ที่มา: U.S. Energy Information Administration
แม้ว่าทรัมป์จะเป็นที่รู้จักในด้านการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ผ่านคำสั่ง Executive Order จำนวนมาก แต่การเปลี่ยนแปลงทั้งหมด อาจไม่ได้ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น การถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีสที่สหรัฐฯ ที่คล้ายกับสิ่งที่ทรัมป์ทำในปี 2017
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย เช่น การเพิ่มการขุดเจาะ LNG และน้ำมันเบนซิน จะทำให้ส่วนแบ่งในตลาดพลังงานของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ให้สหรัฐฯ ยังคงเป็นผู้ส่งออก LNG และน้ำมันเบนซินรายใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ต่อไป
ที่มา: The Clean Investment Monitor, Rhodium Group and MIT
รายงานวิจัยนี้จัดทำโดย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด (KResearch) เพื่อเผยแพร่เป็นการทั่วไป โดยอาศัยแหล่งข้อมูลสาธารณะ หรือ ข้อมูลที่เชื่อว่ามีความน่าเชื่อถือที่ปรากฏขณะจัดทำ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละขณะเวลา ทั้งนี้ KResearch มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ความเหมาะสม ความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าว และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ชวน เสนอแนะ ให้คำแนะนำ หรือจูงใจในการตัดสินใจเพื่อดำเนินการใดๆ แต่อย่างใด ดังนั้น ท่านควรศึกษาข้อมูลด้วยความระมัดระวังและใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจใดๆ KResearch จะไม่รับผิดในความเสียหายใดที่เกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว
ข้อมูลใดๆ ที่ปรากฎในรายงานวิจัยนี้ถือเป็นทรัพย์สินของ KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี) การนำข้อมูลดังกล่าว (ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน) ไปใช้ต้องแสดงข้อความถึงสิทธิความเป็นเจ้าของแก่ KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี) หรือแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นๆ ทั้งนี้ ท่านจะไม่ทำซ้ำ ปรับปรุง ดัดแปลง แก้ไข ส่งต่อ เผยแพร่ หรือกระทำในลักษณะใดๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตล่วงหน้า เป็นลายลักษณ์อักษรจาก KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี)
สำหรับด้านพลังงานสะอาด สหรัฐฯ ได้เพิ่มการลงทุนพลังงานสะอาดมาตั้งแต่ยุค Obama โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยไตรมาสละ 7% แต่หลังจากที่ Biden ออกมาตรการ Inflation Reduction Act (IRA) มีผลให้อัตราการเติบโตเฉลี่ยของการลงทุนเร่งตัวสูงขึ้นเป็น 9% (รูปที่ 2) ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า สหรัฐฯ จะยังคงมีการลงทุนพลังงานสะอาดมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นต่อไป เนื่องจากหลายรัฐในสหรัฐฯ ได้ผลประโยชน์
กฤตย์ สีตะธนี
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
krit.s@kasikornresearch.com
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS