{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (Bank Indonesia: BI) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% มาอยู่ที่ 6.0% ในรอบการประชุมวันที่ 18 ก.ย.2567 ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบ 3 ปี โดยการปรับลดครั้งนี้อยู่เหนือความคาดหมายของตลาดที่มองว่าการประชุมรอบนี้ BI จะคงดอกเบี้ยต่อเนื่องและจะปรับลดในช่วงปลายปี 1 ครั้ง การปรับดอกเบี้ยของ BI ในครั้งนี้ สะท้อนมุมมองของ BI ที่กลับไปให้น้ำหนักกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ท่ามกลางสถานการณ์ค่าเงินรูเปียะห์ที่ลดแรงกดดันจากค่าเงินอ่อนค่า หลังจากที่ BI ได้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเมื่อเดือน เม.ย.2567 เพื่อต้องการรักษาเสถียรภาพค่าเงิน ทำให้ตั้งแต่เม.ย. 2567 อัตราแลกเปลี่ยนรูเปียะห์/ดอลลาร์ฯ กลับมาแข็งค่าขึ้นที่ 5.91% ในขณะที่เงินเฟ้อกลับมามีเสถียรภาพอยู่กรอบเป้าหมายที่ร้อยละ 1.5%-3.5% ต่อเนื่อง (รูปที่ 1) เอื้อให้ทางการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน
รูปที่ 1: ค่าเงินรูเปียะห์มีทิศทางแข็งค่ามากขึ้นขณะที่เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย
อัตราแลกเปลี่ยนรูเปียะห์/ดอลลาร์ฯ
รูปที่ 1: ค่าเงินรูเปียะห์มีทิศทางแข็งค่ามากขึ้นขณะที่เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย
อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อของอินโดนีเซีย (%)
ที่มา: CEIC, Bank Indonesia, โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ความชัดเจนของทิศทางดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่คาดว่าการประชุมในรอบเดือน ก.ย.จะปรับลดดอกเบี้ย หนุนให้ BI พิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ ซึ่งอินโดนีเซียนับเป็นประเทศแรกๆ ในอาเซียน โดยก่อนหน้านี้ฟิลิปปินส์ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้วเมื่อเดือนส.ค.2567 เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจเช่นเดียวกับอินโดนีเซีย (รูปที่ 2)
รูปที่ 2: อัตราดอกเบี้ยของประเทศสำคัญในอาเซียน (%)
ที่มา: CEIC, Bank Indonesia, โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของอินโดนีเซียจะผ่อนคลายเพิ่มเติม โดยหลังจากนี้ BI จะมีการประชุมคณะกรรมการอีก 3 ครั้ง ในรอบวันที่ 16 ต.ค. 20 พ.ย. และ 18 ธ.ค. 2567 ซึ่ง Bloomberg คาดว่า BI จะปรับลดดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 1 ครั้งเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะรักษาการเติบโตที่ 5.0% ได้ในปี 2567
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS