{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
"ทรีนีตี้" เปิดผลงานงวดครึ่งแรกปี 2567 พลิกกำไร 16.49 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 106.29 เทียบงวดครึ่งแรก 2566 ที่ขาดทุน 262.37 ล้านบาท หลังโกยรายได้งวดครึ่งปีกว่า 294.89 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.07
ดร. วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรีนีตี้ วัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ TNITYเปิดเผยว่าผลดำเนินงานของบริษัทพลิกกลับมาเป็นกำไร โดยงวดครึ่งแรกปี 2567 บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 16.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 106.29 เมื่อเทียบกับงวดครึ่งแรกปี 2566 ที่ขาดทุนจำนวน 262.37 ล้านบาท เป็นผลจากรายได้รวม และกำไรเงินลงทุนปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ผลดำเนินงานงวดไตรมาส 2 มีกำไรสุทธิ 0.63 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 100.26 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุน 239.18 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในงวดครึ่งแรกปี 2567 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 294.89 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.07 เทียบกับงวดเดียวกันปี 2566 ที่มีรายได้รวมจำนวน 174.42 ล้านบาท โดยมีปัจจัยหนุนสำคัญ คือ 1.รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการในงวดครึ่งปีแรก 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 41.48 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 37.99 จากงวดครึ่งปีแรก 2566 บริษัทมีรายได้จาก 30.06 ล้านบาท เป็นการเพิ่มขึ้นของค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นสามัญที่เสนอขายให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) และดีลที่ปรึกษาในการรับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ 2.งวดครึ่งปีแรก 2567 บริษัทมีกำไร และผลตอบแทนจากเงินลงทุนรวม 25.86 ล้านบาท ขณะที่ในงวดเดียวกันของปี 2566 บริษัทมีผลขาดทุน และผลตอบแทนจากเงินลงทุนรวม 116.65 ล้านบาทเนื่องจากได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดที่รุนแรงในงวดหกเดือนปี 2566 โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงจากสิ้นเดือนธันวาคม 2565 ที่ 1,668.66 จุด เป็น 1,503.10 จุด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2566
ในส่วนของธุรกิจหลักทรัพย์นั้นยังคงได้รับผลกระทบจากสภาพตลาดและปริมาณการซื้อขายที่หดตัวโดยครึ่งแรกปี 2567 รายได้จากธุรกิจหลักทรัพย์จำนวน 175.19 ล้านบาท ลดลงในอัตราร้อยละ 13.38 จากงวดครึ่งแรกปี 2566 ที่มีรายได้ 202.25 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ลดลงจาก 94.62 ล้านบาทในงวดครึ่งแรกปี 2566 เป็น 74.39 ล้านบาทในงวดเดียวกันปี 2567 เป็นผลจากมูลค่าเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ที่ปรับลดลงระหว่างงวดจากความระมัดระวังในการให้สินเชื่อของบริษัท
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเงินกองทุน (NCR) นั้นยังคงมีความแข็งแกร่ง โดยซึ่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 บริษัทและบริษัทย่อยมีอัตราเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิที่ร้อยละ 77.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่สำนักงานก.ล.ต. กำหนด
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS