{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) จัดสัมมนาเปิดตัวโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานให้มีมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM) ประจำปี พ.ศ. 2567 พร้อมเดินหน้าผลักดันให้สถานประกอบการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม มุ่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเหมืองแร่สู่ความยั่งยืน
นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า กพร. มุ่งมั่นผลักดันและส่งเสริมให้สถานประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม เพื่ออยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเป็นสุข รวมทั้งสร้างความเข้าใจในความจำเป็นของการนำทรัพยากรแร่มาใช้ประโยชน์ อันจะก่อให้เกิดการยอมรับ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไปสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืน โดย กพร. ได้จัดสัมมนาเปิดตัวโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานให้มีมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM) ประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 14 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ
นายยุทธศิลป์ รักญาติ รักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า กพร. ดำเนินโครงการ CSR-DPIM ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ปัจจุบันมีสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CSR-DPIM จำนวน 153 แห่ง โดยในปี พ.ศ. 2566 มีสถานประกอบการที่ได้รับรางวัลผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CSR-DPIM จำนวน 21 แห่ง แบ่งเป็นระดับ Gold จำนวน 13 แห่ง และระดับ Silver จำนวน 8 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งเครือข่ายสถานประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่มีมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM Network) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เพื่อขยายผลความร่วมมือในระดับเครือข่ายของสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน CSR-DPIM ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง
“กพร. ยังคงสนับสนุนและผลักดันให้สถานประกอบการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมมากที่สุด และมุ่งเน้นให้ประชาชนในทุกพื้นที่ที่มีเหมืองแร่ได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างงานสร้างอาชีพ การศึกษาของลูกหลาน และการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยเพื่อให้เหมืองแร่สามารถพัฒนาเติบโตและอยู่คู่ชุมชนได้อย่างแท้จริง หรือที่เราเรียกว่า ‘เหมืองแร่เพื่อชุมชน’ โดยปัจจุบัน กพร. ได้มีการกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ CSR-DPIM อย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับสถานประกอบการและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรอย่างเหมาะสมตามศักยภาพ ขีดความสามารถ และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการแสดงความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ซึ่งจะนำไปสู่การเจริญเติบโตของประเทศ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนควบคู่กันไป” นายอดิทัตฯ กล่าวทิ้งท้าย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS