{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
เจงกิสข่าน (Chinggis Khaan) ผู้ที่เกิดและเติบโตมากับทุ่งหญ้าเสตปป์ที่แทบไม่มีอะไรเลย จนสามารถพิชิตอาณาจักร ตีแผ่ขยายอาณาเขตยาวไกลทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียไปจนถึงทวีปยุโรป และเป็นผู้ที่รวบรวมชนเผ่าต่างๆ เข้าด้วยกันจนกลายเป็นอาณาจักร มองโกลอันยิ่งใหญ่
เจงกิสข่าน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 1705 ในครอบครัวชนชั้นผู้นำ บิดาเป็นหัวหน้าเผ่า คิยาด (Kiyad) แต่ถูกศัตรูอีกเผ่าวางยาพิษจนเสียชีวิต ขณะที่เจงกิสข่านมีอายุได้เพียง 9 ปีเท่านั้น เจงกิสข่าน เดิมมีชื่อว่า เตมูจิน (Temüjin) แปลว่าช่างตีเหล็ก ซึ่งเป็นชื่อของหัวหน้าเผ่าที่ถูกบิดาของเขาฆ่าตาย ตามประเพณีมองโกลจะต้องนำชื่อมาตั้งเป็นชื่อของลูกชาย เพื่อสร้างความกล้าหาญและเป็นการประกาศศักดาต่อศัตรูเผ่าอื่นๆ
หลังจากบิดาเสียชีวิต คนอื่นๆ ในเผ่าได้ยึดอำนาจและสัตว์เลี้ยงของครอบครัวเขา ทำให้ครอบครัวเตมูจินต้องอยู่กันอย่างแร้นแค้น เขาและพี่ชายจึงต้องออกล่าสัตว์หาเลี้ยงครอบครัว แต่เมื่อพี่ชายแสดงความเห็นแก่ตัวออกมา เตมูจินจึงต้องฆ่าพี่ชายทิ้ง นับเป็นจุดเริ่มต้นของความเหี้ยมโหดของเขาเลยก็ว่าได้
ในปี พ.ศ. 1749 หลังจากที่เตมูจินทำสงครามชนะชนเผ่าต่างๆ ทั่วสารทิศ ก็ได้ทำการรวบรวมเข้าเป็นชนเผ่ามองโกลทั้งหมด พร้อมทั้งขยายอาณาจักรครอบคลุมตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียไปจนถึงยุโรป และสถาปนาตนเองเป็นเจงกิสข่าน ซึ่งคำว่า “เจงกิส” นั้นแปลว่า มหาสมุทรหรือทะเล ส่วนคำว่า “ข่าน” แปลว่าหัวหน้าหรือกษัตริย์ ดังนั้นชื่อ “เจงกิสข่าน” จึงแปลว่า “กษัตริย์ผู้ปกครองโลก”
เดิมทีชาวมองโกลเป็นชนเผ่าเร่ร่อน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนหลังม้า เด็กเล็กทั้งหญิงและชายต้องฝึกขี่ม้าตั้งแต่อายุเพียง 3 ขวบ และต้องเรียนรู้วิธีล่าสัตว์ด้วยตนเอง ด้วยความที่ต้องเร่ร่อน เพื่อตามหาทุ่งหญ้าหรือพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มีแหล่งอาหาร ทำให้ต้องกระทบกระทั่งกับชนเผ่าอื่นๆ จนเกิดเป็นสงครามแย่งชิงพื้นที่ไปเรื่อยๆ สงครามจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวมองโกล
ชาวมองโกลให้ความเคารพนับถือแม่น้ำมาก เพราะพวกเขาเชื่อว่ามังกรเป็นผู้ควบคุมวงจรชีวิตของน้ำ หากทำให้แม่น้ำสกปรก มังกรจะพิโรธ ทวยเทพจะส่งพายุมาทำลายบ้านเรือน ด้วยเหตุนี้ชาวมองโกลจึงไม่อาบน้ำและไม่ซักเสื้อผ้า และแน่นอนว่าพวกเขาต้องมีกลิ่นตัวแรง แต่มันก็เป็นความภาคภูมิใจ และหากท่านข่านมอบเสื้อคลุมให้ใคร พวกเขาจะถือว่าเป็นเกียรติมาก เสมือนได้รับพลังความแข็งแกร่งผ่านกลิ่นสาบของท่านข่าน
หลังจากเจงกิสข่านเสียชีวิตในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 1770 ตรงกับรัชสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพ่อขุนบางกลางหาวในสมัยกรุงสุโขทัย ลูกชายคนที่สามนามว่า โอเกได ขึ้นเป็นข่านแทน และทำการขยายอาณาจักรไปจนถึงเมืองเคียฟ ประเทศรัสเซีย และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด จนกระทั่งปี พ.ศ. 1784 กองทัพมองโกลบุกเข้าเมืองเปสต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรุงบูดาเปสต์ในปัจจุบัน คร่าชีวิตชาวฮังการีไปเป็นเรือนล้าน แต่ในปีถัดมา กองทัพมองโกลกลับหันหลังให้กับสงครามและเดินทางกลับมองโกล ถือเป็นจุดสิ้นสุดของการแผ่ขยายอาณาจักรมองโกล
สาเหตุของการยุติสงครามครั้งนั้นถูกค้นพบโดยนักวิจัย 2 คน ได้แก่ ดร.อุลฟ์ บึนท์เกน หัวหน้ากลุ่มวิชาการ เดนโดรอีโคโลจี (Dendroecology) ประจำสถาบันวิจัยแห่งรัฐสวิส และศาสตราจารย์ นิโคลา ดิคอสโม นักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกศึกษา สถาบันการศึกษาก้าวหน้าในเมืองปรินซ์ตัน สหรัฐอเมริกา ที่ทำการศึกษาสภาพแวดล้อมในอดีตจากวงปีของต้นไม้ พบว่า สภาพอากาศในฮังการีและพื้นที่โดยรอบในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 1781-1784 นั้นมีความเย็นและชื้นแฉะมาก เนื่องจากฤดูใบไม้ผลิมาถึงเร็วกว่าปกติ ทำให้หิมะละลาย พื้นที่กลายเป็นบึง ไม่เหมาะกับการเคลื่อนทัพม้า รวมถึงส่งผลให้เสบียงเน่าเสีย ขาดแคลนอาหาร จนทหารเสียชีวิตจำนนมาก ด้วยเหตุนี้จึงต้องเป็นอันยุติสงครามการแผ่ขยายอาณาจักรมองโกล
ขอขอบคุณข้อมูล
https://www.history.com/topics/genghis-khan
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS