{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ปัญหาของเกษตรกรยังคงเป็นเรื่องหลักของรัฐบาล ไม่ว่าจะคณะใดที่เข้ามาบริหาร ต้องคอยดูแล เพราะเกษตรกรเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศไทย
ล่าสุด คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 เห็นชอบให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ขยายเวลาชำระหนี้เงินกู้และลดดอกเบี้ยให้กับเกษตรกร 3.81 ล้านราย และร่วมมือกับกระทรวงเกษตรฯ เร่งจัดทำแผนฟื้นฟูรายบุคคล เพื่อจะเพิ่มรายได้เกษตรกรให้มากขึ้นภายใน 3 ปี
นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า มติดังกล่าวประกอบด้วย
1. โครงการขยายเวลาชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่มีหนี้เงินกู้คงเหลือกับ ธ.ก.ส. ณ 31 กรกฎาคม 2561 โดยขยายระยะเวลาชำระต้นเงินกู้ 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2561 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ตามความสมัครใจ
สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ให้ชำระตามกำหนดเดิม หรือตามที่มาแห่งรายได้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เว้นในกรณีเป็นภาระหนัก ให้ขยายเวลาชำระดอกเบี้ยหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นรายๆ ไป
2. โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่เกษตรกร สำหรับต้นเงินกู้ 300,000 บาทแรก ลดลงในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2561 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562
โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้แทนเกษตรกร ในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี และ ธ.ก.ส.รับภาระแทนเกษตรกรในอัตราร้อยละ 0.5 ต่อปี คิดเป็นวงเงินในการเข้าไปช่วยเหลือประมาณ 20,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ พนักงาน ธ.ก.ส. จะนัดหมายและออกไปพบเกษตรกรลูกค้าเพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการและสอบถามความสมัครใจ หากเกษตรกรประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ ต้องลงชื่อในแบบแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ ในจุดประชุมแต่ละพื้นที่ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2561 หากพ้นกำหนดจะไม่ได้รับสิทธิ์ขยายเวลาชำระหนี้ แต่ยังคงได้รับสิทธิ์ลดดอกเบี้ย
โดยในช่วงระหว่างการขยายเวลาชำระหนี้ ธ.ก.ส.จะร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าไปสนับสนุนแผนการพัฒนาอาชีพเป็นรายบุคคล เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพให้สามารถแข่งขันและมีรายได้เพิ่ม
สำหรับเกษตรกรลูกค้าที่มีความประสงค์ชำระหนี้ครบถ้วนตามกำหนดทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย จะสามารถขอสินเชื่อใหม่ตามโครงการสินเชื่อเพื่อเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปีในปีแรก และปีต่อไปคิดในอัตราปกติ วงเงินให้สินเชื่อรวม 100,000 ล้านบาท
ส่วนในรายที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินเร่งด่วน ธ.ก.ส. ก็พร้อมสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน และการจัดหาปัจจัยการผลิตผ่านบัตรเกษตรสุขใจ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าและป้องกันการเป็นหนี้นอกระบบ
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS