กทท. องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ตอกย้ำการพัฒนาสู่ “ท่าเรือสีเขียว”

การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) องค์กรด้านธุรกิจท่าเรือแห่งแรกที่ได้การรับรองให้เป็นองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจกจากคณะกรรมการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย

กทท. ได้รับการรับรองให้เป็นองค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก (Climate Action Leading Organization: CALO) นับเป็น 1 ใน 98 องค์กรชั้นนำของประเทศ ที่ได้รับการรับรองจากเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network : TCNN) ตอกย้ำการบริหารจัดการนโยบายท่าเรือสีเขียวเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่ง กทท. แสดงเจตนารมณ์ที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ นอกจากนี้ กทท. ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อรับรองปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร Carbon Footprint for Organization (CFO) จากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ซึ่งในองค์กรขนาดใหญ่ระดับนานาชาตินั้นได้ให้การยอมรับว่าการขึ้นทะเบียน CFO เป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้ง การรับรอง CFO นั้นยังเป็นการแสดงถึงความโปร่งใสในการดำเนินงาน ถือเป็นการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนต่อสาธารณชน โดยปีงบประมาณ 2565 กทท. มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1 (จากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรโดยตรง) เท่ากับ 24,894 ตัน CO2e/ปี ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 2 (จากการซื้อพลังงานมาใช้ในองค์กร) เท่ากับ 27,995 ตัน CO2e/ปี และปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 3 (จากการใช้พลังงานทางอ้อมอื่น ๆ) เท่ากับ 119,927 ตัน CO2e/ปี

ปั จจุบัน กทท. มีความก้าวหน้าในการลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิได้กว่า 1,083 ตัน CO2e เมื่อเทียบกับกรณีปกติ (Business As Usual: BAU) อย่างไรก็ตาม กทท. มีแนวทางการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยแนวคิด Low - Carbon Port สอดคล้องกับยุทธศาสตร์สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศ โดย กทท. ได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย

• การสนับสนุนให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำ และเชื่อมโยงเศรษฐกิจหมุนเวียนตามโมเดล BCG หรือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ที่ผสมผสานการพัฒนา 3 ด้านหลัก คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนและเทคโนโลยีสะอาด

• การสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากรของ กทท. ในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง

•การสร้างความร่วมมือห่วงโซ่อุปทานในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกัน และสนับสนุนชุมชนและสังคมในการขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ

ทั้งนี้การกำหนดยุทธศาสตร์ข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของผลสำเร็จที่ผลักดันให้ กทท. บรรลุเป้าหมาย การเป็นท่าเรือสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรับผิดชอบต่อสังคม


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment