{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า สนพ. ได้ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกในเดือนธันวาคม 2566 พบว่า ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ ราคาน้ำมันดิบปรับลดสู่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์พลังงานที่ซบเซาในสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งนักลงทุนคาดว่าการปรับลดกำลังการผลิต 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนถึงไตรมาสแรกของปี 2567 ของกลุ่มโอเปกพลัส อาจไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับอุปสงค์ความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกที่ยังคงอ่อนแอ ขณะที่รัสเซียเพิ่มขึ้นหลังสภาพอากาศปรับตัวดีขึ้น
นอกจากนี้สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ได้เปิดเผยถึงปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับกว่า 13ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งใกล้แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อีกทั้งสำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS) ของจีนเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI) ในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปรับลดลงร้อยละ 0.5 และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับลดลงร้อยละ3.0 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งสะท้อนถึงภาวะเงินฝืดที่รุนแรงขึ้น และความไม่มั่นใจเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีน เนื่องจากส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันที่น่าจับตามองในด้านต่าง ๆ อาทิ ตลาดยังคงจับตาสถานการณ์ความไม่แน่นอนในทะเลแดง ภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างใกล้ชิด ภายหลังกองกำลังฮูตี (Houthi) โจมตีเรือบรรทุกสินค้าทุกลำที่มุ่งหน้ามายังอิสราเอลผ่านทะเลแดง ส่งผลให้ตลาดมีความกังวลถึงผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบและน้ำมัน สำเร็จรูป เนื่องจากบริษัทรายใหญ่ ได้แก่ BP, MSC และ Maersk ปรับเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งน้ำมันผ่านทะเลแดงไปเป็นเส้นทางผ่านแหลมกู๊ดโฮป ซึ่งจะใช้เวลานานมากขึ้นกว่า 10 วัน ทำให้ค่าขนส่งเรือ Suezmax สูงขึ้นร้อยละ 29
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบยังถือว่าอยู่ในพื้นที่จำกัด ซึ่งสหรัฐฯ และหลายประเทศได้ร่วมกันจัดตั้งปฏิบัติการเพื่อปกป้องการค้าในทะเลแดง และบริเวณอ่าวเอเดนเพื่อป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจจีน หลังบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน มูดีส์ (Moody's) ปรับลดความน่าเชื่อถือจากทรงตัวเป็นเชิงลบ เนื่องจากความกังวลทิศทางเศรษฐกิจและวิกฤตอสังหาริมทรัพย์จีน โดยสัดส่วนเงินกู้จีนต่อ GDP อยู่ที่ระดับร้อยละ 303 ขณะที่ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปี 2567 - 2568 จะเติบโตที่ระดับร้อยละ 4 และการเติบโตมีแนวโน้มหดตัวลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.8 ในปี 2569 -2570
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS