{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
สสว. บูรณาการหน่วยงานภาครัฐ จัดทำแผนปฏิบัติการและงบประมาณด้านการส่งเสริม SME วางกรอบทิศทางการส่งเสริม SME ปี 2568 โมุ่งสร้างความพร้อมในการจัดทำแผนงาน/โครงการสนับสนุนผู้ประกอบการให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมผู้บริโภค มุ่งเน้น 3 ประเด็นสำคัญ ด้วยเป้าหมายให้ SME อยู่รอด ปรับตัวเร็ว เติบโตยั่งยืน และเป็นกำลังสำคัญให้เศรษฐกิจประเทศต่อไป
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจำปี พ.ศ. 2568 ขึ้นในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงิน ฯลฯ ที่มีภารกิจด้านการส่งเสริม SME ของประเทศรวมกว่า 80 หน่วยงาน ในการจัดทำแผนปฏิบัติการและงบประมาณด้านการส่งเสริม SME ประจำปี 2568 ให้สอดคล้องกับแผนการส่งเสริม SME ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570) ซึ่งเป็นกรอบแนวทางการส่งเสริม SME ของประเทศ และเพื่อให้การส่งเสริม SME ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถเชื่อมโยง ส่งต่อความช่วยเหลือ และลดความซ้ำซ้อน ช่วยให้การส่งเสริม SME ของประเทศ มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่กำหนด
“ด้วยบทบาทของ สสว. ที่เป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายและแผนการส่งเสริม SME ของประเทศและทำหน้าที่เป็น System Integrator ในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานของทุกๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แผนปฏิบัติการส่งเสริม SME ประจำปี (Action Plan) เป็นเครื่องมือ ปัจจุบันประเด็นท้าทายสำคัญของ SME มีตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แนวโน้มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์โลก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเข้าสู่ยุคดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการประกอบธุรกิจของ SME ทั้งสิ้น ดังนั้นแผนปฏิบัติการและงบประมาณด้านการส่งเสริม SME ประจำปี 2568 จึงมุ่งเน้น 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) Digital Transformation 2) Green Transition และ 3) Soft Power ด้วยเป้าหมายที่จะช่วยให้ SME อยู่รอด ปรับตัวเร็ว เติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นกำลังสำคัญในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่อไป” ผอ.สสว. กล่าว
สำหรับกรอบแนวทางการส่งเสริม SME ภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริม SME ประจำปี 2568 จะมุ่งสร้างการเติบโตที่ครอบคลุม SME ทุกกลุ่ม สร้างการเติบโตแบบมุ่งเป้าในกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพที่จะก้าวมาเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และพัฒนาสภาพแวดล้อมให้สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ โดยกำหนดประเด็นสำคัญที่มุ่งเน้นส่งเสริม SME ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การส่งเสริม SME ให้ปรับเปลี่ยนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) การผลักดันให้ SME เปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจสีเขียว (Green Transition ) และการสนับสนุน SME เพิ่มมูลค่าและโอกาสให้ธุรกิจด้วย Soft Power
โดยขับเคลื่อนภายใต้ 16 กลยุทธ์ ได้แก่ 1.พัฒนาธุรกิจระยะเริ่มต้นให้เริ่มธุรกิจได้อย่างมั่นคง 2.ยกระดับธุรกิจที่มุ่งเติบโตให้มีศักยภาพในการแข่งขัน 3.ยกระดับธุรกิจสู่การแข่งขันระดับโลก 4.ฟื้นฟูธุรกิจที่ประสบปัญหาให้ฟื้นตัว 5.ช่วยเหลือธุรกิจยังชีพให้สามารถอยู่รอดได้ 6.สนับสนุนผู้ประกอบการสูงอายุในการดำเนินธุรกิจ 7.ส่งเสริมเกษตรกรสู่การทำธุรกิจแบบมืออาชีพ 8.สร้างส่วนแบ่งตลาดในประเทศให้เพิ่มขึ้น 9.ส่งเสริมการเข้าสู่สากล 10.สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 11.สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม 12.สร้างความพร้อมของแรงงานและบุคลากร 13.สนับสนุนศูนย์กลางในการให้ข้อมูล องค์ความรู้และบริการ 14.ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ให้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ 15.พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบาย และ 16.พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SME ที่อยู่ในอุตสหกรรม Soft Power ในการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของตลาด
อย่างไรก็ดี การประชุมวันนี้จะเป็นกลไกสำคัญในการบูรณาการทุกหน่วยงาน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ โดยการจัดทำข้อเสนอแผนงาน/โครงการ และงบประมาณ ประจำปี 2568 ที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เชื่อมั่นว่าจะมีส่วนช่วยให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันพัฒนาและริเริ่มโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SME สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ สสว. จะเปิดรับข้อเสนอโครงการของหน่วยงานต่างๆ ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2566 ก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณากลั่นกรองและวิเคราะห์โครงการ เพื่อบรรจุภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริม SME สำหรับจัดทำคำของบประมาณประจำปี 2568 ต่อไป
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS