{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ Mr. NASHIDA Kazuya (นายนะชิดะ คะสุยะ) เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและคณะเข้าพบ เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านคมนาคมขนส่งระหว่างไทยและญี่ปุ่น โดยมี นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ร่วมหารือ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ณ กระทรวงคมนาคม
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ กล่าวภายหลังการหารือว่า ความร่วมมือของไทยและญี่ปุ่นในการพัฒนาความเชื่อมโยงและโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางเทคนิคในด้านคมนาคมขนส่งที่ทั้งสองฝ่ายสนใจร่วมกัน และมีความยินดีที่นักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจในการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ด้านคมนาคมขนส่งในประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้จะเป็นก้าวสำคัญสู่โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่แข็งแกร่งและเชื่อมโยงถึงกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ และหวังว่าจะได้มีการประสานความร่วมมือระหว่างกันต่อไปในอนาคต
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้หารือถึงความสนใจจากผู้ประกอบการญี่ปุ่นในการเข้าร่วมลงทุนโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงส่วนต่อขยาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับกรอบวงเงินโครงการฯ ประกอบด้วย โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีสะพานพระราม 6 สถานีบางกรวย - กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี) ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช ระยะทาง 5.70 กิโลเมตร โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต- ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ - พญาไท - มักกะสัน - หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง (Missing Link) ระยะทาง 25.9 กิโลเมตร และความสนใจร่วมลงทุนบริหารท่าเทียบเรือแหลมฉบัง A5 และ B1 - B5 ซึ่งการท่าเรือแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อรูปแบบและรายละเอียดการประกวดราคา
ทั้งนี้ ในวันที่ 14 – 18 ธันวาคม 2566 นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีกำหนดการเยือนประเทศญี่ปุ่น ในการประชุมสุดยอดอาเซียน - ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (ASEAN-Japan Commemorative Summit) รวมทั้งจะเข้าร่วมการประชุม Thailand-Japan Investment Forum 2023 โดยจะนำโครงการแลนด์บริดจ์มาเป็นข้อหารือ ซึ่งโครงการแลนด์บริดจ์จะเป็นเส้นทางการเดินเรือใหม่ของโลกและจะสามารถแก้ปัญหาของความล่าช้าในการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้เดินหน้าประชาสัมพันธ์ให้นานาประเทศได้รู้จักโครงการเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำเสนอโอกาสนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในประเทศไทย
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS