UMI ชูกลยุทธ์ 3R ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

“บมจ.สหโมเสคอุตสาหกรรม หรือ UMI” วางเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญและใส่ใจในการบริหารจัดการของเสียในกระบวนการผลิต ชูกลยุทธ์ 3R บริหารจัดการของเสียตามแนวทาง ISO 14001 ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ UMI ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายกระเบื้องชั้นนำของประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ดูราเกรสและเซอเกรส โดยหลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงมีนโยบายในการบริหารจัดการของเสียในกระบวนการผลิตเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำกลยุทธ์ 3R เป็นแนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า สามารถช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง ด้วยการลดการใช้ การนำกลับมาใช้ซ้ำ และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle) และแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy มาใช้เพื่อจัดการของเสียตามแนวทาง ISO 14001 เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเผาแล้ว (Scrap) ได้แก่ กระเบื้องที่มีตำหนิรุนแรงที่ไม่อาจขายได้ กระเบื้องที่แตกหักเสียหาย และเศษกระเบื้องจากการตัด เมื่อนำมาบดย่อยด้วยเครื่องจักรแล้ว สามารถนำกลับมาใช้เติมในเนื้อ Body ได้ทั้งหมด ข้อดีของการนำเอา Scrap เหล่านี้กลับไปใช้ใหม่ คือ ลดการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติได้ ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการขนส่ง อีกทั้งยังช่วยกำจัดของเสียที่จะออกสู่สิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง

ผงดินที่กำจัดทิ้งจากกระบวนการเตรียมเนื้อดินและกระเบื้องก่อนเผาที่เสียหายจากกระบวนการขึ้นรูปและตกแต่งผลิตภัณฑ์ จะถูกนำกลับไปใช้เป็นวัตถุดิบในเนื้อ Body แล้วส่งกลับไป Spray เป็นผงดินใหม่อีกครั้ง

ตะกอนจากกระบวนการผลิต เช่น ตะกอนของน้ำดินจากการล้างพื้น ล้างถังกวนเคลือบ ล้างหม้อบดและอุปกรณ์การจัดเก็บ รวมทั้งกากที่เหลือค้างบนตะแกรงในกระบวนการกรองน้ำดินและสีเคลือบ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกากเหล่านี้คือวัตถุดิบใน Body และในเคลือบ โดยบริษัทมีการนำผลิตภัณฑ์ที่เผาแล้วและตะกอนดินในกระบวนการผลิต โดยนำกลับมาใช้ใหม่เป็นวัตถุดิบใน Body ทั้งหมด

น้ำเสียที่มาจากกระบวนการไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเตรียมน้ำดิน น้ำเคลือบ ตลอดจนถึงกระบวนการผลิต บริษัทมีระบบการจัดการน้ำโดยใช้ระบบการตกตะกอนตามธรรมชาติภายในบริษัท แล้วนำกลับมาใช้ในโรงงาน เช่น นำไปใช้ทำความสะอาดพื้นที่ในกระบวนการผลิต และใช้ในกระบวนการผลิตน้ำดิน ซึ่งนอกจากจะไม่ปล่อยน้ำเสียลงยังแหล่งน้ำสาธารณะแล้ว ยังลดการนำน้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชนมาใช้ด้วย


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment