{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
หลายวันมานี้ ได้เห็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้เห็นในหมู่นักวิชาการนิเทศศาสตร์ นั่นคือการที่นักวิชาการเหล่านี้ออกมาทักท้วงเรื่องวิธีการทำข่าวและเรื่องจรรยาบรรณของสื่อ
นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ในอดีต มองว่าพวกเขาคือครูเป็นหลัก คือสอนหนังสือ มีน้อยที่ทำหน้าที่นักวิชาการผู้ค้นคว้าคู่ไปกับการวิพากษ์วิจารณ์สังคม และน้อยยิ่งไปกว่านั้นคือชี้ทางที่ถูกต้องหรือที่ควรจะเป็นให้แก่สังคม
ง่ายมากที่คนสอนนิเทศศาสตร์จะทำไม่รู้ไม่เห็นเมื่อมีการฝ่าฝืนหลักวิชาการในสื่อ อย่างดีก็เที่ยวชี้ด่าเรื่องน้ำเน่า ก็ใครเล่าอยากไปกระทบกระทั่งกับสื่อที่ทรงอำนาจ โอ้..นี่ยังไม่นับพวกละทิ้งหลักการเพื่อห้อยโหนหรือยอมเป็นเครื่องมือให้แก่สื่อ
หลายวันมานี้ ได้เห็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้เห็น คือมีนักวิชาการที่ออกมาทักท้วง เรียกร้องให้สื่อทำงานบนหลักการที่พวกเขาเชื่อ ให้เคารพสิทธิส่วนบุคคล ไม่กีดขวางการกู้ภัย ไม่กระทำเรื่องที่กระทบต่อความปลอดภัย และให้ระมัดระวังความถูกต้องของข่าว เป็นต้น ... นี่เป็นนักวิชาการที่เกรียนหรือ ?
เปล่าเลย นี่เป็นการทำหน้าที่ของนักวิชาการอย่างที่พวกเขาควร ...ไม่ต่างจากสื่อที่ต้องทำหน้าที่รายงานความจริงที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ นักวิชาการก็ต้องยืนยันหลักการและข้อจรรยาบรรณว่าอะไรใช่อะไรไม่ใช่ เพื่อประโยชน์แก่สาธารณะเช่นกัน ...
การประกาศหลักการที่พวกเขาสอนในที่สาธารณะ จะนำไปสู่การถกเถียงการพัฒนาวิชาการและสังคมมนุษย์ในอนาคต
สำนักคิดด้านสื่อล้วนเกิดมาจากสถานการณ์ทำนองนี้
ขอบคุณสื่อสังคมและอินเทอร์เน็ต ที่วันนี้ทำหน้าที่เป็นพื้นที่สาธารณะให้แก่นักวิชาการเหล่านั้น ถ้ามีแค่ความเชื่อมั่นและความกล้าหาญทางวิชาการแต่ไม่มีช่องทางแสดงออก พวกเขาก็คงจะยังอยู่ในห้องทึบๆ ของชั้นเรียน วันนี้พวกเขามีโอกาสได้แสดงออกต่อสังคมมากขึ้นอย่างมีผล
ไม่ต่างจากสื่อ นักวิชาการเองก็ใช่ว่าจะสมบูรณ์แบบไปทุกคน บางคนอาจหนักไปทางหนึ่งในขณะที่บางคนก็อาจหนักไปอีกทาง แต่นี่ก็เป็นความหลากหลายที่ทุกคนในสังคมเลือกรับเอาได้...นักวิชาการแต่ละคนก็ต้องรับผิดชอบต่อความเห็นของตนเอง
สำหรับนักวิชาการเก่า...ขอบอกผ่านไปสู่นักวิชาการยุคนี้ว่าที่นี่ภาคภูมิใจในพวกคุณ
ดร. พนา ทองมีอาคม
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS