{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น "วันนักประดิษฐ์ไทย"
กำหนดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ จากการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตร "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536
.
"กังหันน้ำชัยพัฒนา" หรือ Chaipattana Low Speed Surface Aerator, Model RX-2 (หมายถึง Royal Experiment แบบที่ 2) มีชื่อทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมว่า "เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย" (Low speed surface Aerator) ถือกำเนิดขึ้นจากพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช ภายหลังจากที่ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพน้ำเน่าเสียในพื้นที่หลายแห่งทั่วประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณในการศึกษาและวิจัยสร้างเครื่องมือบำบัดน้ำเสียร่วมกับกรมชลประทาน จนเกิดเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ทรงได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “หลุก” กังหันวิดน้ำไม้ไผ่ตามภูมิปัญญาของภาคเหนือ
.
"กังหันน้ำชัยพัฒนา" เป็นเครื่องกลแบบทุ่นลอย มีคุณสมบัติผลักดันและผสมผสานให้ออกซิเจนเข้ากับน้ำในระดับความลึกใต้ผิวน้ำได้เป็นอย่างดี สามารถถ่ายเทออกซิเจนได้สูงถึง 1.2 กิโลกรัมของออกซิเจน/แรงม้า/ชั่วโมง เหมาะสำหรับใช้ทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ สระน้ำ หนองน้ำ คลอง บึง ลำห้วย และแหล่งน้ำสาธารณะ ที่มีความลึกมากกว่า 1 เมตร และมีความกว้างมากกว่า 3 เมตร
.
ตัวเครื่องติดตั้งง่าย สามารถบำบัดน้ำเสียที่มีค่าความสกปรก 250 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้ปริมาณมากถึง 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และลดค่า BOD (Biological Oxygen Demand หรือปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ) ได้มากกว่า 90% แต่เสียค่าใช้จ่ายเพียงลูกบาศก์เมตรละ 96 สตางค์เท่านั้นเอง
.
“กังหันน้ำชัยพัฒนา” เป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
#สำนักข่าวสับปะรด #Onthisday #พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS