{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
กรมส่งเสริมการเกษตร สนับสนุนแปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ที่ 8 ตำบลขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี ทำเกษตรประณีตได้คุณภาพ จนได้มาตรฐานGAP และขึ้นทะเบียนสินค้า GI เป็นทุเรียนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น พร้อมลุยกุลยุทธ์การขายทั้งหน้าสวน ริมถนน และออนไลน์ บางรายกวาดรายได้กว่า 1 ล้านบาท
นายวินัย ลักษณะวิลาศ เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี ลงพื้นที่แปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ที่ 8 ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี หรือสวนมนัส ฮวดจึง เพื่อเยี่ยมชมกระบวนการผลิตทุเรียนคุณภาพ และประณีต จนสมาชิกส่วนใหญ่ได้มาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) หรือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี โดยสวนมนัส ฮวดจึง เป็นสวนผลไม้ที่เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ปลูกผลไม้ผสมผสานหลากหลายชนิดตามฤดูกาล เช่น มังคุด เงาะ ลองกอง กระท้อน ส้มโอ และ ทุเรียน โดยทุเรียนพันธุ์หมอนทอง และสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงให้ผลผลิตออกสู่ท้องตลาด
เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า แปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ที่ 8 ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี มีสมาชิก 50 คน ในทุกวันที่ 20 ของทุกเดือน จะมีการประชุมกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสวนผลไม้ของแต่ละคน โดยเกษตรจังหวัด และเกษตรอำเภอ จะเข้ามามีส่วนให้ความรู้ และแจ้งข่าวสารใหม่ ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาและการยกระดับผลไม้ต่าง ๆ โดยเฉพาะการลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาคุณภาพ การหาตลาดรองรับ และการบริหารจัดการ ตามแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาแปลงใหญ่ของกรมส่งเสริมการเกษตร
นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้สมาชิกแปลงใหญ่เน้นการทำเกษตรอินทรีย์ หรือการทำเกษตรปลอดภัย จนสมาชิกได้มาตรฐาน GAP สามารถเพิ่มมูลค่าให้สินค้าหรืออผลไม้ในสวนได้ โดยการทำเกษตรประณีต ได้เน้นให้เกษตรกร ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและตัวเกษตรกรเอง พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและใช้สารชีวภัณฑ์ในการกำจัดแมลงหรือศัตรูพืช รวมไปถึงรู้จักการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยพัฒนาสวนเพื่อลดการจ้างแรงงานคน เช่น การพัฒนาเป็นแปลงทุเรียนอัจฉริยะ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี อยู่ระหว่างออกแบบร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ หากอากาศร้อนหรือแห้งจนเกินไป ระบบให้น้ำจะพ่นละลองน้ำอัตโนมัติ หากออกแบบสำเร็จ จะนำมาพัฒนาแปลงใหญ่ทุเรียน เพื่อให้สวนทุเรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตลอดทั้งปี
ด้านนายมนัส ฮวดจึง เกษตรกรบ้านหนองจวง และประธานแปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ที่ 8 ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า พื้นที่ปลูกทุเรียนของตัวเองมี 20 ไร่ จำนวน 400 ต้น ส่วนของสมาชิกมีกว่า 400 ไร่ และได้จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ทำให้สมาชิกทุกคนมีส่วนในการขับเคลื่อนงานแปลงใหญ่ทั้งหมด โดยมีการแบ่งงานกันระหว่างสมาชิกด้วยกันอย่างชัดเจน พร้อมประสานไปยังส่วนราชการอื่น ๆ ให้การช่วยเหลือ โดยเฉพาะสำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี และเกษตรอำเภอเมืองปราจีนบุรี จะมีการพูดคุย และจัดงานร่วมกันมาตลอด ล่าสุดจะมีการจัดงานเกษตรปราจีนบุรี ระหว่างวันที่ 30 พ.ค.-11 มิ.ย. 2566 นี้ เป็นการจัดงานปีที่ 57 หลังจากงดการจัดงานไปจำนวน 2 ปี จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยภายในงานจะมีการประกวดคุณภาพผลไม้ของปราจีนบุรี และจำหน่ายผลไม้ต่าง ๆ เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนได้มีโอกาสจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น
เกษตรกรมีการดูแลสวนแบบประณีต เช่น การบำรุงต้น หรือ การให้ปุ๋ย ก็เป็นปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ เมื่อทุเรียนออกดอก ก็ใช้สารชีวภัณฑ์ หรือ น้ำหมักในการไล่แมลงศัตรูพืชต่างๆ และเมื่อทุเรียนติดลูก ก็ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นห่อหุ้ม ป้องกันสัตว์ต่าง ๆ เข้าทำลาย โดยกระบวนการผลิตทั้งหมดจะเน้นความปลอดภัยและให้ความสำคัญกับคุณภาพเป็นหลัก” จนเป็นที่ยอมรับของลูกค้าสมาชิกต่างได้มาตรฐาน GAP และขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI (Geographical Indication) นายมนัส กล่าวว่า ทุเรียนปราจีนบุรี ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้า GI มีจำนวน 7 สายพันธุ์ แบ่งเป็นทุเรียนพันธุ์การค้าคือ ก้านยาว หมอนทอง ชะนี และกระดุมทอง และทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง ประกอบด้วย กบชายน้ำ ชมพูศรี และกำปั่น เนื่องจากมีคุณลักษณะเฉพาะ มีรสชาติหอม หวาน มัน อร่อย เนื้อทุเรียน มีสีเหลือง แห้ง หนา เส้นใยน้อย เปลือกผลบาง ผิวเปลือกสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม และหนามถี่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นสำคัญของทุเรียนปราจีนบุรี โดยมีการปลูกกระจายในพื้นที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี กบินทร์บุรี ประจันตคาม ศรีมหาโพธิ และนาดี ที่มีสภาพดินเหมาะสม โดยดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย ชั้นล่างเป็นหินผุและศิลาแลง ทำให้การระบายน้ำสะดวก น้ำไม่ขังในเนื้อดิน การกระจายตัวของธาตุอาหารทั่วถึง ลักษณะภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝน ประกอบกับความชื้นสัมพัทธ์เหมาะสมพอดีกัน จึงทำให้มีรสชาติอร่อยเป็นเอกลักษณ์
ส่วนช่องทางการตลาด และการจำหน่าย นายมนัส กล่าวว่า การขายมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งการขายแบบเหมาต้น หรือการขายปลีกริมถนน และการขายออนไลน์ โดยของตัวเองจะขายแบบมีลูกค้าประจำมาซื้อแบบเหมาต้น โดยจะส่งรายงานความเจริญเติบโตของผลทุเรียนให้ลูกค้าทุกวันผ่านแอบพลิเคชั่นไลน์ มีรายได้มากกว่า 1 ล้านบาท ส่วนสมาชิกรายอื่นจะขายปลีกให้นักท่องเที่ยวที่หน้าสวนของตนเอง ในราคากิโลกรัมละ 100-300 บาท ส่วนที่เหลือก็เลือกจะขายทางออนไลน์ โดยมีการรับประกันคุณภาพให้ลูกค้าทุกลูก เพื่อให้ลูกค้าพอใจและกลับมาซื้อทุเรียนปราจีนบุรีอีกครั้ง
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS