{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ส.อ.ท.เผยดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ระดับ 95.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 97.8 ในเดือนมีนาคม ปรับตัวลดลงครั้งแรกใน 4 เดือน หเหตุผู้ประกอบการกังวลค่าไฟ-ราคาน้ำมัน ส่งผลดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ร่วง วอนรัฐจัดสรรงบเป็นส่วนลดค่าไฟ
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และนายวิวรรธน์ เหมมณฑารพ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมเปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2566 จากการสำรวจผู้ประกอบการจำนวน 1,164 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของ ส.อ.ท. อยู่ที่ระดับ 95.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 97.8 ในเดือนมีนาคม ปรับตัวลดลงครั้งแรกใน 4 เดือน เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของค่าดัชนีฯ พบว่าปรับตัวลดลงเกือบทุกองค์ประกอบ ทั้งดัชนีฯ คำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ยกเว้นต้นทุนประกอบการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวลดลงโดยมีปัจจัยลบจากการชะลอตัวของภาคการผลิต เนื่องจากวันหยุดต่อเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ขณะที่อุปสงค์ต่างประเทศยังคงอ่อนแอ สะท้อนจากดัชนีคำสั่งซื้อและยอดขายต่างประเทศปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากผลกระทบเศรษฐกิจโลกถดถอย ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นด้านต้นทุนประกอบการยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมัน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทยอยปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยบวกจากอัตราค่าระวางเรือที่ทยอยปรับลดลงตั้งแต่ช่วงต้นปี 2566 นอกจากนี้ การขยายตัวการบริโภคในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในประเทศ
สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 105.0 ปรับตัวลดลง จาก 106.3 ในเดือนมีนาคม เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูงจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าชะลอตัว ส่งผลลบต่อภาคการส่งออกของไทย ขณะที่สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย -ยูเครน ที่ยังคงยืดเยื้อส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบในตลาดโลก ทำให้ต้นทุนการผลิตยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะค่าไฟฟ้า
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ 1. ส่งเสริมการจัดงานแสดงสินค้า และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) และอเมริกาใต้ รวมทั้งเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า 2. ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า อาทิ จัดสรรงบประมาณเป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบและลดต้นทุนการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS