{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) พร้อมด้วย รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ผู้ว่าการ กนอ.) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการบูรณาการความร่วมมือส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และสิทธิประโยชน์ ด้านการประกันภัย พ.ร.บ. ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) กับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดยมีนายนรินทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบอร์ดกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย นายภาณุ จันทร์เจียวใช้ บอร์ดกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตลอดจนคณะผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงาน และสื่อมวลชนร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ
เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในครั้งนี้ สืบเนื่องจากปี 2565 สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการโครงการรณรงค์เชิงรุกการทำประกันภัย พ.ร.บ. อย่างยั่งยืน เพื่อรณรงค์และส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ รับรู้ถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับจากการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. และได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯ โดยได้รับเกียรติจากนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมเป็นประธานเปิดโครงการฯ ณ สามย่านมิตรทาวน์ ต่อมาได้มีการขยายการดำเนินงานในทางปฏิบัติสู่ระดับภูมิภาค โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานในพื้นที่นำร่องภายในนิคมอุตสาหกรรม โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมถึงได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการและพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 3 แห่ง ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างงดงาม
ด้าน รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ผู้ว่าการ กนอ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันภัย พ.ร.บ. เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยต่อผู้ขับขี่มาโดยตลอด เพราะเล็งเห็นว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะนํามาถึงการสูญเสียที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้ประสบภัย ดังนั้น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งและพร้อมผนึกความร่วมมือกับสำนักงาน คปภ. ในการเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์และผลักดันให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของรถ หรือผู้ครอบครองรถทุกคันในนิคมอุตสาหกรรมมีการจัดทำ ประกันภัย พ.ร.บ. เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตต่อตนเอง ครอบครัว และส่วนรวม โดยในปีนี้กำหนดเจาะกลุ่มเป้าหมายที่นิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จังหวัดฉะเชิงเทรา นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งนิคมอุตสาหกรรมทั้งสามแห่งมีโรงงาน จำนวน 496 แห่ง คนงาน จำนวน 133,000 คน รถยนต์ จำนวน 13,500 คัน และรถจักรยานยนต์ จำนวน 18,000 คัน โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชาชนที่ใช้รถจักรยานยนต์ในการเดินทาง
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและบูรณาการผลักดันให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของรถและผู้ครอบครองรถในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมีการจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. อย่างยั่งยืนในหลากหลายมิติ สำนักงาน คปภ. และ กนอ. ได้กำหนดกรอบการดำเนินงานร่วมกัน 2 แนวทางหลัก ๆ คือ แนวทางแรก ความร่วมมือด้านการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำประกันภัย พ.ร.บ. และบทบาทหน้าที่ของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยให้แก่ประชาชนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการทำประกันภัย พ.ร.บ. อาทิเช่น ประโยชน์ของการทำประกันภัย พ.ร.บ. บทลงโทษจากการฝ่าฝืนไม่จัดทำประกันภัย พ.ร.บ. นอกจากนี้จะมีการประสานงาน แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมตระหนักถึงความปลอดภัย ให้ความร่วมมือกับรัฐในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน และตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงโดยใช้ระบบประกันภัย พ.ร.บ. เป็นเครื่องมือ
แนวทางที่สอง ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร และประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อสนับสนุนงานวิชาการด้านประกันภัย พ.ร.บ.
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS