ทีเอ็มบีธนชาต แนะวางแผนบริหารความเสี่ยงรับมือเศรษฐกิจโลกและค่าเงินผันผวน


ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี มุ่งมั่นสนับสนุนให้ลูกค้าธุรกิจมีความแข็งแกร่ง แนะวิธีการวางแผนธุรกิจท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยเน้นกระจายความเสี่ยง เสริมทัพด้วยเครื่องมือที่สามารถบริหารความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การทำธุรกิจในยุคดิจิทัล เพื่อการเติบโตของธุรกิจที่ยั่งยืน

นางพาจนา รุจิเรข รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าบรรษัทธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี กล่าวว่า ธนาคารพร้อมเป็นพันธมิตรเคียงข้างให้ธุรกิจของลูกค้าเติบโตได้ในทุกสถานการณ์ จึงได้จัดงาน “Turning Challenges into Opportunities” เพื่อกระชับความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ พร้อมอัปเดตข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการ สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่งผลต่อการดำเนินการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเปลี่ยนความท้าทายต่าง ๆ ให้กลายเป็นโอกาสให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้


นายนริศ สถาผลเดชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี วิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีทิศทางที่ดีขึ้น มีการขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.2% ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยบวกจากการบริโภคในประเทศ การท่องเที่ยว การส่งออกที่เติบโตดีขึ้น รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยคาดการณ์ว่าน่าจะขยายตัวต่อเนื่องได้ถึง 3.7% ในปี 2566 และในส่วนของการค้าระหว่างประเทศ แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีความท้าทายจากความผันผวนของค่าเงิน รวมถึงสถานการณ์การค้าโลกด้านต่าง ๆ แต่ยังเป็นโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการภาคการส่งออกที่ยังมีโอกาสเติบโตได้ถึง 8.1% สำหรับปีนี้

พร้อมกันนี้ได้แนะนำให้ผู้ประกอบธุรกิจปรับกลยุทธ์การบริหาร เน้นการกระจายความเสี่ยงให้มากยิ่งขึ้น วางแผนธุรกิจในรูปแบบ Scenario Planning โดยไม่ลงทุนแบบระยะยาว 3-5 ปี แต่ใช้วิธีจัดสรรโปรเจ็กต์ออกเป็นส่วน ๆ ส่วนละ 2 ปี หากส่วนแรกไม่เป็นอย่างที่คิด ก็พร้อมที่จะปรับการลงทุนเป็นส่วนอื่นต่อไป


ด้าน นายเอกรัศมิ์ มนธาตุผลิน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร การตลาดธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีทีบี กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกที่ผกผัน ทำให้ IMF ปรับประมาณการ GDP ของโลกและทุกภูมิภาคลง ประเทศไทยถูกปรับลงมาอยู่ที่ 2.8% จาก 3.9% นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เห็นได้จากเงินบาทอ่อนค่าที่สุดในรอบ 16 ปี ธนาคารจึงมองว่าในปีนี้และปี 2566 ค่าเงินบาทจะมีความผันผวนสูงมาก และปรับขึ้นลงอย่างรวดเร็ว โดยหากพิจารณาคู่ค้าหลักของเราคือ จีน คิดเป็นสัดส่วน 18% อาเซียน 18% ส่วนสหรัฐฯ 11% แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กลับใช้ดอลลาร์สหรัฐ เป็นสกุลเงินในการค้าขายถึง 77% ธนาคารจึงอยากเสนอให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการดำเนินธุรกิจ อาทิ หยวน เยน สิงคโปร์ดอลลาร์ ก็จะช่วยลดต้นทุนได้มากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ธนาคารยังนำเสนอเครื่องมือบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ttb multi-currency account บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน ที่สามารถบริหารจัดการ 11 สกุลเงินในบัญชีเดียวรวมสกุลเงินบาท ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งแบบครบวงจร โดยทีทีบี ถือว่าเป็นธนาคารแรกและธนาคารเดียว ที่พัฒนาบัญชีนี้เพื่อผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกโดยเฉพาะ ซึ่งลูกค้าสามารถใช้บัญชีนี้ในการบริหารธุรกิจทั้งในและต่างประเทศได้ด้วยเลขที่บัญชีเดียว


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment