GWI ชูเวลเนสไทยปักหมุดบน “ภูมิศาสตร์เวลเนส” เป็นประเทศที่ 3

BDMS Wellness Clinic จับมือ GWI ศึกษาวิจัยเวลเนสของประเทศไทยและโอกาสในเศรษฐกิจเวลเนสที่มีมูลค่า 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดการณ์ว่าจะเติบโตสู่ 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2568

นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร BDMS Wellness Clinic และ BDMS Wellness Resort เปิดเผยว่า สถาบันโกลบอลเวลเนส (Global Wellness Institute; GWI) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่มุ่งเน้นงานวิจัยและข้อมูลทางการศึกษาด้านสุขภาพเชิงป้องกันและอุตสาหกรรมเวลเนสทั่วโลก ได้ประกาศให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ที่ได้รับการปักหมุดลงใน “ภูมิศาสตร์เวลเนส” (Geography of Wellness) แพลตฟอร์มใหม่ของ GWI โดย 2 ประเทศแรก คือ สิงคโปร์และบราซิลที่ถูกปักหมุดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

ครั้งนี้ BDMS Wellness Clinic ศูนย์สุขภาพเชิงป้องกันในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ Bangkok Dusit Medical Services (BDMS) เครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้เป็นผู้สนับสนุนการเจาะลึกข้อมูลเศรษฐกิจเวลเนสในประเทศไทย ซึ่ง BDMS Wellness Clinic ดำเนินงานโดยยึดหลักปรัชญาที่ว่า ‘สุขภาพที่ดีเริ่มที่การป้องกัน’ (Prevention is the pathway to wellness) โดยการรวบรวมแพทย์ผู้มีความรู้ความชำนาญ และเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานทางการแพทย์ที่ทันสมัย มาใช้ในการตรวจประเมินสุขภาพ นำไปสู่การวางแผนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) อย่างมีคุณภาพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ (Physical and mental wellness)

“ความร่วมมือระหว่างเรากับ GWI ทำให้สามารถมองเห็นภาพใหญ่ของตลาดเวลเนสในประเทศไทย และยังสามารถเป็นแหล่งความรู้เชิงลึกในด้านสินทรัพย์เวลเนสของประเทศไทย นำไปใช้ในการวางแผน เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของประเทศในเศรษฐกิจเวลเนสโลกที่มีมูลค่า 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2563 และมีแนวโน้มที่จะเติบโตไปจนถึง 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2568” นายแพทย์ตนุพล กล่าว

ทั้งนี้GWI ประเมินว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจะกลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดด เฉลี่ยสูงถึงปีละ 20.9% และจะมีมูลค่าทะลุ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2567 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ของภูมิภาคเอเชียซึ่งก่อนการระบาดของโควิด-19 ประเทศไทยมีรายได้หลักจากการเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำของโลก มีศักยภาพในการส่งเสริมให้เป็นศูนย์รวมของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก ซึ่งจากรายงานของ GWI ในปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยติดอันดับ 9 ในเศรษฐกิจเวลเนสในแถบเอเชียแปซิฟิก และติดอันดับ 24 ของโลก” ประเทศไทยยังได้รับการโหวตให้เป็นประเทศเป้าหมายที่คนอยากมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอันดับที่ 2 ของโลก รองจากออสเตรเลีย จากการจัดอันดับของ Wellness Tourism Initiative 2020 สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทย

ด้าน Susie Ellis ประธานและซีอีโอของ GWI กล่าวว่า ภูมิศาสตร์เวลเนสของ GWI เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นเพื่อให้ประเทศต่างๆ เข้าใจอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นว่า ประเทศของตนอยู่ในตำแหน่งใดในเศรษฐกิจเวลเนสที่มีมูลค่า 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักวิชาการ และหน่วยงานภาครัฐมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนว่า โอกาสในระยะสั้นและระยะยาวอยู่ตรงไหน เราขอขอบคุณพันธมิตรระดับประเทศอย่าง BDMS Wellness Clinic ที่เล็งเห็นคุณค่าของข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้”

GWI ประเมินมูลค่าเศรษฐกิจเวลเนสทั่วโลก พบว่ามีการเติบโตขึ้นอย่างมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา มูลค่าการตลาดทางด้านเวลเนสทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2560 อยู่ที่ 4.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ขยับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 4.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เฉลี่ยเติบโต ประมาณ 6.6 % ติดต่อกันมาตลอดหลายปี สูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่มีการเติบโต 4% แต่ในปี พ.ศ. 2563 เศรษฐกิจเวลเนสหดตัวลง 11% เหลือ 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับผลกระทบหนักกว่า GDP ของโลกที่ลดลงเพียง 2.8% อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์ว่าจะกลับมาเติบโตไปจนถึง 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2568 (เฉลี่ยเติบโต 9.9% ต่อปี)

จากข้อมูลของ GWI เศรษฐกิจเวลเนสของประเทศไทยมีอัตราเติบโตอยู่ที่ 29% ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2562 แต่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 การเติบโตนี้ชะลอตัวลงภายใต้ข้อจำกัดการของเดินทางที่เข้มงวด เนื่องจากเศรษฐกิจเวลเนสของประเทศไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพและธุรกิจสปา ซึ่งเป็น 2 ธุรกิจหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment