{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
ในที่สุด ทั้ง บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) หรือ เอไอเอส และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) หรือดีแทค ออกมายืนยันว่าจะไม่เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz อย่างแน่นอน ตามหลังบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ที่ประกาศไปก่อนหน้านี้
แต่ก็พร้อมร่วมประมูล หาก กสทช. มีการปรับหลักเกณฑ์และราคาที่เหมาะสม
สร้างความผิดหวังให้กับทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นอย่างมาก
เพราะได้เตรียมการมาอย่างดี และที่สำคัญทำให้พลาดเป้าหมายการหารายได้อย่างน้อยๆ ก็หลายหมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของการล่มสลายการประมูลคลื่นครั้งนี้ มีแววมาตั้งแต่ออกข่าวจะเปิดประมูลแล้ว เนื่องจากความต้องการของ กสทช. ที่กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ไม่ตรงใจกับความต้องการของเอกชน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาเริ่มต้นการประมูล เพราะใช้ราคาปิดประมูลในการประมูลคลื่น 1800 MHz ครั้งสุดท้ายมาเป็นตัวตั้ง ซึ่งสูงถึง 37,457 ล้านบาท ขณะที่ เอไอเอส กับ ทรู ต่างเจ็บหนักกับการประมูลคลื่น 900 MHz
ขณะที่ ดีแทค ที่ก่อนหน้านี้ยืนยันว่าจะเข้าร่วมประมูลกลับเปลี่ยนใจ หลังจากได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับทีโอทีในการบริหารคลื่น 2300 MHz ที่เพียงพอจะรองรับการขยายตัวของตลาดในช่วงเวลาหนึ่ง และอยากจะให้ กสทช. ซอยคลื่นออกมาให้มากกว่านี้เพื่อเป็นทางเลือกให้มากขึ้น และหากพิจารณาลึกลงไปแล้ว ดีแทค อยากจะให้คลื่น 850-900 MHz มากกว่า
จากนี้ กสทช. คงต้องกลับไปขบคิดให้หนักว่า แนวทางที่ กสทช.ใช้มาก่อนหน้านี้ จะยังคงใช้ต่อไปได้หรือไม่
หรือว่าต้องไปปรับรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของโอเปอเรเตอร์ ที่เวลานี้ต่างก็ยังมีคลื่นเพียงพอต่อความต้องการ
หรืออาจต้องหาแนวทางใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เล่นหน้าใหม่ สามารถเข้ามาในตลาดได้มากขึ้น ไม่อย่างนั้น ก็มีผู้เล่นเพียงแค่ 3 เจ้า ที่วันใดวันหนึ่งอาจจะผนึกกำลังล้มประมูลอีกก็ได้
คงต้องรอลุ้นต่อไปกลับการประมูลคลื่น 2600 MHz ที่วางแผนไว้ รวมถึงจะทำอย่างไรกับคลื่น 1800 MHz ที่ถูกเมิน
COMMENTS
{{ errors.name }}
{{ errors.value }}
{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}
RELATED TOPICS