สรรพสามิตจัดระเบียบเพิ่มฐานภาษีสร้างสมดุลดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

กรมสรรพสามิตศึกษาแผนเพิ่มพิกัดภาษีใหม่ เพื่อขยายฐานเพื่อร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งจะเร่งให้เสร็จภายในปี 66

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตวางแผนขยายฐานภาษี ภายได้ยุทธศาสตร์ในปี 2566 จากเดิมมุ่งเก็บรายได้ภาษี เปลี่ยนมาเป็น “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยภาษีสรรพสามิต” เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) สร้างมาตรฐานสากล เดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ซึ่งจะนำร่องศึกษา 6 ประเภทหลัก ประกอบด้วย

1.การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ (Bio Plastic) เพื่อสนับสนุนการนำเอทานอลบริสุทธิ์ที่สกัดจากอ้อย มันสำปะหลัง และพืชอื่น มาใช้ในการผลิตพลาสติก นอกจากจะช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังจะช่วยสนับสนุนเกษตรกรมีรายได้เพิ่มทางอ้อม

2. เชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยาน (Bio Jet) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงเครื่องบินที่มีส่วนผสมเอทานอลบริสุทธิ์มาใช้ โดยอาจคิดราคาภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าเชื้อเพลิงทั่วไป รองรับแนวโน้มความต้องการใช้ที่จะเพิ่มขึ้น หลังจากในรายประเทศได้ศึกษาและมีการผลิต รวมไปถึงการกำหนดการใช้เชื้อเพลิงในกลุ่มนี้แล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน ขณะที่ในประเทศไทยหากสามารถดำเนินการได้ก็จะช่วยสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน เพราะสามารถลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาสูง สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร และสร้างรายได้ให้แก่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศได้อีกทางหนึ่ง

3.ภาษีแบตเตอรี่ จากปัจจุบันจัดเก็บร้อยละ 8 หากผู้ประกอบการ ผลิตแบตเตอรี่สามารถรีไซเคิลได้ นำกลับมาใช้ใหม่ ก็จะปรับลดภาษีสรรพสามิตจะเหลือร้อยละ 2 รองรับนโยบายส่งเสริมการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากแนวโน้มกระแสโลกให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งแบตเตอรี่เองถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการผลิตรถยนต์พลังงงานไฟฟ้า

4.การเพิ่มพิกัดอัตราภาษีคาร์บอนเครดิต (Carbon Tax) ในลักษณะเดียวกับประเทศในยุโรป ซึ่งมีลักษณะแนวคิดว่า หากสินค้าใดที่กระบวนการผลิตมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดซ์อ๊อกไซด์มากจะเสียภาษีสูง เพื่อรองรับการดูแลสิ่งแวดล้อม

5. การเพิ่มพิกัดภาษีบุหรี่ไฟฟ้า เพราะแม้จะยังเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่ต้องยอมรับว่าคนรุ่นใหม่นิยมสูบบุหรี่ไฟฟ้าจำนวนมาก กรมจึงอยากศึกษาว่าจะสามารถดำเนินการอย่างไร เพื่อเป็นการป้องกัน ควบคุม และช่วยดูแลทางด้านสาธารณสุขอีกช่องทางหนึ่ง

6. การเพิ่มพิกัดภาษีเบียร์ สุรา แอลกอฮอล์ 0% ซึ่งพฤติกรรมวัยรุ่นยุคใหม่ นิยมเลือกดื่มเบียร์แอลกอฮอร์ 0% มากขึ้น ซึ่งจะอยู่ระหว่างเครื่องดื่มผลไม้ กับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันวิธีคิดของกรมสรรพสามิตจะคิดภาษีตามสัดส่วนของแอลกอฮอล์ ยิ่งมีสัดส่วนมาก ภาษีจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

“กรมวางแผนจะทำการศึกษาและเพิ่มพิกัดภาษี รวมถึงอัตราภาษี กับสินค้าใหม่เหล่านี้ให้ได้ภายในปี 66 ตามเป้าหมายขยายฐานภาษีใหม่ เพื่อช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ส่วนการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2566 คาดว่ารายได้ภาษี 5.67 แสนล้านบาท ซึ่งปีงบประมาณ 65 คาดจัดเก็บได้ประมาณ 5 แสนล้านบาท” อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment