ธ.ก.ส.หนุนทุนจาก Green Bond เร่งเพิ่มพื้นที่สีเขียว การผลิตอาหารปลอดภัยและพลังงานสะอาด

ธ.ก.ส. ขับเคลื่อนนโยบายสิ่งแวดล้อม สนับสนุนเงินทุนเกษตรกรผ่านแหล่งเงินทุนพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ทั้งโครงการรักษ์ป่าไม้ ไทยยั่งยืน และโครงการสินเชื่อสีเขียว วงเงินรวมกว่า 20,000 ล้านบาท มุ่งเป้าหมายการยกระดับการปลูกไม้เศรษฐกิจ การทำเกษตรอินทรีย์และการผลิตอาหาร

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. การวางนโยบายตามยุทธศาสตร์ชาติที่คำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการสร้างการเติบโตในภาคเกษตรกรรม เพื่อหนุนระบบเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยการจัดตั้งโครงการสินเชื่อผ่านแหล่งเงินทุนพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) วงเงินรวมกว่า 20,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการระดมทุนจากภาคธุรกิจที่มีแนวคิดในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนภายใต้หลัก ESG : Environment Social and Governance ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของประเทศให้เดินไปในทิศทางที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ เช่น การทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน และวนเกษตร รวมถึงกิจกรรมที่มุ่งเน้นในการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการรักษ์ป่าไม้ไทยยั่งยืน (Go Green : Forest Credit) โดยสนับสนุนเกษตรกร นิติบุคคล กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์การเกษตรในการปลูกไม้เศรษฐกิจ ทั้งการปลูกสวนป่าเชิงเดี่ยว สวนป่าแบบผสมและแบบวนเกษตร การเพาะพันธุ์ไม้หรือเมล็ดพันธุ์เพื่อจัดจำหน่าย เงื่อนไขสินเชื่อ กรณีกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียน เช่น ค่าพันธุ์ไม้ ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ อัตราดอกเบี้ย MRR-2 ระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน พิเศษ ไม่เกิน 18 เดือน กรณีกู้เพื่อการลงทุนในการปลูกไม้เศรษฐกิจ ระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี พิเศษสูงสุดไม่เกิน 20 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 - 5 ร้อยละ 4 ปีที่ 6 - 10 MRR - 2 (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี) และ ปีที่ 11 เป็นต้นไป อัตรา MRR-1 และกรณีกู้เพื่อการลงทุนในการสนับสนุนการปลูกไม้เศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย MRR-2.25

โครงการส่งเสริมและสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว (Green Credit) เพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์หรือการผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาด รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับเกษตรกรรายบุคคล คิดอัตราดอกเบี้ย MRR - 1 ต่อปี (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี) และนิติบุคคล กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร คิดอัตราดอกเบี้ย MLR - 0.5 ต่อปี (ปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 4.875 ต่อปี) กรณีกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียน กำหนดชำระคืน ไม่เกิน 12 เดือน พิเศษ ไม่เกิน 18 เดือน และกรณีกู้เพื่อลงทุนภายใน 15 ปี

นายธนารัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ธ.ก.ส. ยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนเกษตรกรและชุมชนควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้อำนวยสินเชื่อผ่านแหล่งเงินทุนพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ไปแล้วกว่า 5,456 ล้านบาท สามารถสร้างแนวร่วมในการผลิตอาหารปลอดภัยไปแล้วกว่า 1,600 ตันและเพิ่มปริมาณต้นไม้ในประเทศอีกกว่า 567,000 ต้น สำหรับผู้ที่ประสงค์ขอสินเชื่อ สามารถติดต่อได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศหรือ Call Center 02 555 0555 ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 มีนาคม 2568


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment